วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน: ASEAN Political-Security Community Blueprint

ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน: ASEAN Political-Security Community Blueprint:
ประชาคมการเมือง ความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community): APSC Blueprint
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงนี้ ผู้นำอาเซียนต่างเห็นพ้องที่จะก่อตั้งประชาคมการเมือง ความมั่นคง โดยมีเป้าหมายว่า ประเทศในภูมิภาคนี้จะดำรงอยู่ร่วมกับชาติอื่นๆ ได้อย่างสันติ ด้วยความยุติธรรม มีประชาธิปไตย และมีบรรยากาศที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยสมาชิกของประชาคมจะต้องระงับความขัดแย้งอย่างสันติ ท่ามกลางความแตกต่างของแต่ละรัฐสมาชิก ที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมีเส้นเขตแดนทางภูมิศาสตร์ร่วมกัน รวมถึงการมีวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยการพัฒนาทางการเมือง การมีบรรทัดฐานร่วมกัน การร่วมกันป้องกันมิให้เกิดข้อขัดแย้ง การหาหนทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง และการมีกลไกที่ทำให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น
APSC Blueprint Asean Political-Security Community ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน
APSC Blueprint Asean Political-Security Community ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน

 พิมพ์เขียวประชาคมการเมือง-ความมั่นคง

(Asean Political-Security Community Blueprint)

ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียนนี้ ตั้งอยู่บนฐานที่มีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน มีสันติภาพ เสถียรภาพ และเป็นภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นที่จะรับผิดชอบร่วมกันกับความมั่นคงอย่างครอบคลุม โดยมีพิมพ์เขียวประชาคมการเมือง ความมั่นคง และกฎบัตรอาเซียนเป็นตัวนำทาง ทั้งในเชิงหลักการและเป็นเป้าประสงค์สำหรับโรดแมปที่จะนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมใน ค.ศ. 2015
ลักษณะสำคัญ 3 ประการของประชาคมการเมือง – ความมั่นคงอาเซียน 
  • เป็นประชาคมที่ตั้งอยู่บนกฎ กติกา ที่มีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน (A Rules-based Community of shared values and norms.)
  • เป็นภูมิภาคที่ยึดหลักสันติ ความมีเสถียรภาพและความยืดหยุ่น มีความรับผิดชอบร่วมกันในมิติด้านความมั่นคง (A Cohesive, Peaceful, Stable and Resilient Region with shared responsibility for comprehensive security.)
  • มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคอย่างมีพลวัตท่ามกลางโลกที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อพึ่งพาระหว่างกัน (A Dynamic and Outward-looking Region in an increasingly integrated and interdependent world.)
หากพูดถึงเสาหลักทางด้านประชาคมการเมือง-ความมั่นคงของอาเซียนแล้ว มิพักต้องให้ความสำคัญกับการทูตทหารเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากถือเป็นกลไกหลักในการผลักดันความร่วมมือให้เกิดความสำเร็จ และยังบรรเทาความขัดแย้งทั้งยังแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย
บทความหน้าเราจะพูดถึงการทูตทหารในอาเซียน ประเด็นที่เราจะพูดถึงในที่นี้เป็นทั้งแพลตฟอร์มที่พูดถึงนโยบายการปฏิบัติงานและมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำไปปฏิบัติจริง นั่นคือ การประชุมระดับรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (Asean Defence Minister’s Meeting: ADMM) ที่เป็นกลไกสูงสุดสำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงในอาเซียน ถือเป็นการประชุมที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนมุมมองถึงประเด็นความมั่นคงในปัจจุบันและความท้าทายที่ต้องเผชิญร่วมกันในภูมิภาค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น