วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

กระทรวงพาณิชย์ จัดพิธีมอบหนังสือรับรองคุณภาพให้สำนักงานบัญชีที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการจัดทำบัญชี หวังยกระดับสำนักงานบัญชีไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เตรียมพร้อมรับการแข่งขันในตลาด AEC

กระทรวงพาณิชย์ จัดพิธีมอบหนังสือรับรองคุณภาพให้สำนักงานบัญชีที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการจัดทำบัญชี หวังยกระดับสำนักงานบัญชีไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เตรียมพร้อมรับการแข่งขันในตลาด AEC:



กระทรวงพาณิชย์ จัดพิธีมอบหนังสือรับรองคุณภาพให้สำนักงานบัญชีที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการจัดทำบัญชี หวังยกระดับสำนักงานบัญชีไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เตรียมพร้อมรับการแข่งขันในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีมอบหนังสือรับรองคุณภาพให้สำนักงานบัญชีที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการจัดทำบัญชี จำนวน 20 ราย เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนเป็นแบบอย่างที่ดีที่สามารถพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพและสามารถแข่งขันในเวทีการค้าเสรีได้อย่างมั่นคง โดยคาดหวังให้สำนักงานบัญชีไทยรายอื่น ๆ นำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไป ซึ่งสำนักงานบัญชีที่ได้การรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินเข้มข้นจากเจ้าหน้าที่ของสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO สามารถนำระบบคุณภาพมาใช้บริหารจัดการธุรกิจได้ ช่วยให้ข้อมูลทางบัญชีและรายงานทางการเงินของภาคธุรกิจในประเทศมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งบการเงินทุกประเภท โดยปัจจุบันมีสำนักงานบัญชีคุณภาพที่ได้รับหนังสือรับรองแล้ว 53 แห่ง ซึ่งคาดว่าสำนักงานบัญชีที่มีอยู่ทั่วประเทศจะทยอยยกระดับมาตรฐานคุณภาพเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานสากลเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558
พร้อมกันนี้ ยังมีการจัดอบรมหลักสูตร “ต้นกล้าสำนักงานบัญชีคุณภาพ” เพื่อพัฒนาความรู้ และสร้างความพร้อมให้สำนักงานบัญชีของไทยก้าวสู่การเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ มีมาตรฐานเทียบเคียงระดับสากล พร้อมให้บริการลูกค้าทั้งในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน เน้นให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC โอกาสทางการตลาดสำหรับสำนักงานบัญชี การพัฒนาศักยภาพของสำนักงานบัญชีด้วยมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งมีผู้สมัครเข้าร่วมกว่า 340 ราย โดยที่ผ่านมามีผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรดังกล่าวแล้ว 1,091 ราย และตั้งเป้าผลักดันให้มีต้นกล้าสำนักงานบัญชีคุณภาพเกิดขึ้นอีกอย่างน้อย 990 รายในปี 2556 นี้


ผู้สื่อข่าว : ราชิดา ด่วนดี / สวท. ราชิดา ด่วนดี / สวท.


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว : นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

การทูตทหารอาเซียน: จาก ADMM ถึง ADMM-Plus ภายใต้ร่มการเมืองความมั่นคงอาเซียน

การทูตทหารอาเซียน: จาก ADMM ถึง ADMM-Plus ภายใต้ร่มการเมืองความมั่นคงอาเซียน:
บทความชุดเกี่ยวกับอาเซียน ในด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เราได้อธิบายทั้ง APSC Blueprint และความร่วมมือซึ่งเป็นกลไกสูงสุดในด้านนี้คือ ADMM หรือชื่อเต็มคือ Asean Defence Minister’s Meeting หรือชื่อไทยคือ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนไปแล้วก่อนหน้านี้

คราวนี้เรามาสำรวจและทำความเข้าใจร่วมกันบ้างว่า ADMM ที่ขยายความร่วมมือออกมาเป็น ADMM-Plus คืออะไร ? มีที่มาอย่างไร ? และมีความสำคัญอย่างไรบ้างต่ออาเซียน ?
กรอบความร่วมมือ ADMM นี้ ได้พยายามให้ความสำคัญต่อการเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทุกระดับ เพื่อสร้างฐานรากของความร่วมมือให้แข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเป็นประชาคมอาเซียน ภายใต้พิมพ์เขียวประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (Asean Political-Security Community: APSC) โดยขยายสาขาความร่วมมือไปยังกรอบ ADMM-Plus เพิ่มเติม
Vietnam ADMM 2010

ที่มาของ ADMM-Plus (Asean Defence Minister’s Meeting-Plus: ADMM-Plus)

การจัดตั้ง ADMM-Plus สืบเนื่องมาจากผลสำเร็จภายหลังจัดตั้งการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน หรือ ADMM ซึ่งถือว่าเป็นความสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ และยังสะท้อนให้เห็นถึงเสาหลักของความร่วมมือในด้านความมั่นคงของอาเซียนที่มีพัฒนาการยิ่งขึ้น
โดยผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเปิดกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงดังกล่าว สืบเนื่องจากไม่กี่ปีที่ผ่านมา สภาวะแวดล้อมทางด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เรา (อาเซียน) ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงอย่างสลับซับซ้อน
ทั้งประเด็นความมั่นคงรูปแบบเดิม (traditional security) และประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non-traditional security) อาทิ การก่อร้าย การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติ ตลอดจนความร่วมมือทั้งภายในอาเซียนและประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิก
ขณะเดียวกัน ประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในวงภาคีอาเซียน ได้ให้ความสนใจที่จะเข้ามาสานสัมพันธ์กับอาเซียนทั้งในประเด็นด้านการป้องกันและความมั่นคง ดังนั้น การเปิดกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในลักษณะพหุภาคีหรือเป็นความร่วมมือหลายฝ่ายมากขึ้น ถือเป็นการเปิดกว้างและอำนวยความสะดวก ในการสร้างช่องทางเพื่อให้เกิดการสื่อสารและความร่วมมือเพิ่มขึ้น
ทั้งความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศอาเซียน และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเกี่ยวพันกับประเทศนอกภูมิภาคนั้น จะส่งผลประโยชน์ต่ออาเซียน ในแง่ที่ว่าเป็นการนำมาซึ่งความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ แก่อาเซียนมากขึ้น ตลอดจนทัศนคติ และทรัพยากรจากประเทศภายนอกอาเซียนที่ร่วมเผชิญความท้าทายด้านความมั่นคงร่วมกัน

เป้าหมายในการจัดตั้ง ADMM-Plus

แนวคิดในการจัดตั้ง ADMM เกิดขึ้นหลังการปฏิญาณตนในที่ประชุม ADMM เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 ตามที่ประชุม ADMM ได้กล่าวไว้ว่า ความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นมานั้น ต้องมีลักษณะ “เปิดกว้าง ยืดหยุ่น และมุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก” (open, flexible and outward-looking)
ความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นการเกี่ยวพันกับมิตรและประเทศคู่เจรจาของอาเซียนเชิงรุก ในการสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค กล่าวคือ การจัดตั้ง ADMM-Plus ขึ้นก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ ADMM ที่จะส่งเสริมให้ประเทศนอกภูมิภาคเข้ามาเกี่ยวพันกับอาเซียนทั้งในลักษณะที่เป็นมิตรและเป็นประเทศคู่เจรจา โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
  • เพื่อยังประโยชน์แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างศักยภาพ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงร่วมกัน รวมทั้งเพื่อตระหนักถึงความแตกต่างของศักยภาพแต่ละประเทศสมาชิกด้วย
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่นระหว่างประเทศคู่เจรจา ผ่านการสร้างกรอบหารือด้านความมั่นคงอย่างโปร่งใส
  • เพื่อเพิ่มพูนสันติภาพและเสถียรภาพผ่านความร่วมมือด้านป้องกันและความมั่นคงในภูมิภาค จากความท้าทายในมิติความมั่นคงข้ามชาติที่ต้องเผชิญ
  • เพื่อสนับสนุนและตระหนักถึงประชาคมความมั่นคงอาเซียน โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขจากปฏิญญาบาหลี 2 (Bali Concord II) โดยมีเจตจำนงเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งในด้านสันติภาพ เสถียรภาพ ประชาธิปไตย และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค โดยประเทศสมาชิกอาเซียนต้องดำรงอยู่ได้อย่างสันติร่วมกัน ทั้งในระดับรายประเทศและในระดับโลก
  • เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action) เพื่อให้อาเซียนสร้างสันติภาพ ความปลอดภัย และความรุ่งเรืองแก่อาเซียนเอง โดยสามารถปรับตัวเพื่อสานสัมพันธ์กับประเทศภายนอกอาเซียนทั้งในประเทศมิตรและประเทศคู่เจรจา

ADMM 2010 Vietnam

หลักการของ ADMM-Plus

  • อาเซียนจะเป็นศูนย์กลางความร่วมมือรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนบวก (ADMM-Plus) โดยอาเซียนจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับมิตรแห่งอาเซียนและประเทศคู่เจรจา
  • ADMM-Plus จะยึดตามหลักการอาเซียน คือ ไม่แทรกแซงกิจการภายใน ใช้การตัดสินใจตามหลักฉันทามติ มีความยืดหยุ่นทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค เคารพซึ่งอำนาจอธิปไตยของรัฐ โดยให้ระลึกไว้ว่า ADMM-Plus นี้ เป็นเวทีหารือในด้านการป้องกันและความมั่นคง ร่วมกัน มิใช่ลักษณะของวงภาคีแบบพันธมิตรทางทหาร
  • ADMM-Plus จำเป็นต้องเปิดกว้างและครอบคลุม โดย ADMM-Plus ต้องมีบทบาทสร้างสรรค์เชิงรุกในการสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค
  • ความร่วมมือภายใน ADMM-Plus ควรตั้งอยู่บนฐานการเคารพซึ่งกันและกัน รวมทั้งเคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย
  • ADMM-Plus นำไปสู่การรับผิดชอบร่วมกันผ่านการพัฒนาความเข้าใจร่วมกันในประเด็นว่าด้วยความมั่นคง
  • ADMM-Plus เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM)โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าและทำให้ความร่วมมือ ADMM สมบูรณ์

แนวคิดหลักของ ADMM-Plus

การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ครั้งที่ 2 ใน ค.ศ. 2007 ได้รับรองแนวคิด ADMM – Plus ไว้ โดยกระบวนการของ ADMM-Plus ถือเป็นเครื่องมือในการเข้าไปเกี่ยวพันกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนทั้งในความร่วมมือด้านการป้องกันและความมั่นคง โดยหลักการสำคัญสำหรับการจัดตั้ง ADMM-Plus ได้แก่
  •  แนวคิดว่าด้วยหลักการ ADMM-Plus สำหรับสมาชิก (Concept Paper on ADMM-Plus Principles for Membership) ซึ่งรับรองกันในที่ประชุม ADMM ณ พัทยา ประเทศไทย ค.ศ. 2009
  • แนวคิดว่าด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบของ ADMM-Plus (Concept Paper on ADMM-Plus: Configuration and Composition)
  • แนวคิดว่าด้วยวิธีการและกระบวนการของ ADMM-Plus (Concept Paper on ADMM-Plus: Modalities and Procedures) ซึ่งได้รับรองในที่ประชุม ADMM เมื่อ ค.ศ. 2010 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
การให้คำปฏิญาณตนของวงภาคีความร่วมมือ ADMM-Plus นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2010 โดยเห็นพ้องที่จะให้ความร่วมมือเชิงปฏิบัติการใน 5 ประเด็น ดังนี้
  • ความมั่นคงในน่านน้ำ (maritime security)
  • การต่อต้านการก่อการร้าย (counter-terrorism)
  • การจัดการภัยพิบัติ (disaster management)
  • การปฏิบัติการเพื่อรักษาสันติภาพ (peacekeeping operations)
  • การแพทย์ทหาร (military medicine)
ในการนี้ เพื่อให้ความร่วมมือทั้ง 5 ประเด็นนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น จึงนำไปสู่การสร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า Experts’ Working Groups หรือเรียกย่อๆ ว่า EWGs โดยให้ถือว่าเป็นกลุ่มงานสำคัญในการให้ความร่วมมือเชิงปฏิบัติการเป็นอันดับต้นๆ
ทั้งนี้ วงภาคี ADMM-Plus จะมีการจัดประชุมขึ้นทุกๆ 2 ปี ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการฝึกด้าน HADR และการแพทย์ทหารในระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน ค.ศ. 2013 และการจัดประชุม ADMM-Plus ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ณ ประเทศบรูไน

ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community ASCC Blueprint

ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community ASCC Blueprint:
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมมีเป้าหมายที่จะทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้ถึงความเป็นประชาคมอาเซียนให้มีความคุ้นเคยต่อกันและรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้ประชาชนในรัฐภาคีอาเซียนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยแสวงหาอัตลักษณ์ร่วมกัน เพื่อที่จะสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันและใส่ใจระหว่างกัน (building a caring and sharing society) รวมทั้งทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนตลอดจนสวัสดิการต่างๆ ดีขึ้นด้วย
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) เน้นให้ความสำคัญในประเด็นของทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนทำให้เกิดความกลมเกลียวในหมู่ประชาชนอาเซียน
โดยพิมพ์เขียวประชาคมสังคมและวัฒนธรรมนี้ ถือเป็นตัวแทนที่สื่อถึงมิติของ “มนุษย์” เป็นหลัก และเน้นความร่วมมือในอาเซียน เพื่อให้เกิดการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยมีเป้าหมายที่สร้างและพัฒนามาจากความต้องการให้สังคมมีความรับผิดชอบ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

พิมพ์เขียวประชาคมสังคม วัฒนธรรม (Asean Socio-Cultural Community Blueprint)

มีลักษณะสำคัญ 6 ประการ ดังนี้
  • เพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (a. Human Development.)
  • เพื่อให้มีการคุ้มครองและให้สวัสดิการทางสังคม (b. Social Welfare and Protection.)
  • เพื่อให้เกิดการรักษาสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (c. Social Justice and Rights.)
  • เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (d. Ensuring Environmental Sustainability.)
  • เพื่อสร้างอัตลักษณ์แห่งอาเซียน (e. Building the ASEAN Identity.)
  • เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา (f. Narrowing the Development Gap.)
ASCC ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน
ASCC ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน

ที่มาและบทบาทภาคประชาสังคม: ภายใต้ร่มประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ความร่วมมือของอาเซียนถูกดำเนินการโดยรัฐบาลในยุคสมัยต่างๆ และค่อนข้างขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางจากภาคประชาชน เนื่องจากอาเซียนยังมีกลไกที่ไม่ใคร่จะชัดเจนนัก ในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้นนโยบายต่างๆ แม้แต่กฎบัตรอาเซียนที่กำหนดขึ้นมาก็มาจากการกำหนดจากรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งสิ้น
ในหลายปีที่ผ่านมาคำว่า “อาเซียน” เป็นคำที่คุ้นหูของคนไทยกันมากตลอด สิ่งที่หลายท่านรับรู้กันคืออาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลักสำคัญ คือเสาหลักด้านการเมือง-ความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม-วัฒนธรรม
แต่สิ่งที่พึ่งจะเกิดขึ้นได้ 7 ปี คือ “ภาคประชาสังคมอาเซียน” หรือ กรอบการประชุมอาเซียนภาคประชาชน (ASEAN Civil Society Conference: ACSC หรือที่รู้จักกันในนาม ASEAN People Forum: APF)
อธิบายโดยง่ายคือ เวทีของภาคประชาชนจาก 11 ประเทศสมาชิกอาเซียน (+ติมอร์ เลสเต)
โดยเวทีภาคประชาชนลักษณะนี้จะจัดคู่ขนานไปกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN SUMMIT) ที่จัดขึ้นทุกปี และการเกิดขึ้นของ ACSC นั้นต้องยกเครดิตให้กับรัฐบาลมาเลเซีย เนื่องจากในสมัยที่ได้เป็นประธานอาเซียนเมื่อ ค.ศ. 2005 รัฐบาลของมาเลเซียได้มอบหมายให้ศูนย์อาเซียนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมารา ( ASEAN Study Center of Universiti Teknologi Mara:UiTM) จัดการประชุมภาคประชาสังคมคู่ขนานไปกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 11 เดือนธันวาคม ค.ศ. 2005
ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 การวางแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการประชุมรณรงค์เพื่อผลักดันระดับนโยบายก็ได้ถูกจัดขึ้นอีกโดย NGOs หลายองค์กรที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้น ก็ทำให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มเพื่อประสานงานเพื่อเคลื่อนไหวด้านสังคมในเอเชีย โดยใช้ชื่อ SAPA (Solidarity for Asian Peoples’ Advocacies)
ดังนั้น ทั้ง SAPA และ ACSC จึงเป็นความพยามหนึ่งของภาคประชาชนที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันประเด็นในอาเซียน เช่น ประเด็นสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม เพศสภาพ การค้า การลงทุน การช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม ฯลฯ ซึ่งการจัดเวทีลักษณะดังกล่าวทำให้ตัวตนของภาคประชาสังคมเด่นชัดมากขึ้น รวมถึงมีแถลงการณ์ภายหลังการระดมสมองและพูดคุยในหลายเรื่อง เพื่อผลักดันประเด็นต่างๆ ให้เป็นนโยบายในระดับอาเซียน
แต่ปัญหาของภาคประชาสังคมในอาเซียนก็คือ รัฐบาลต่างๆ ในอาเซียนมาจากระบบการเมืองที่หลากหลาย และมีระดับของความเป็นประชาธิปไตยที่แตกต่าง ทำให้ภาคประชาสังคมซึ่งจัดตั้งโดยภาคประชาชนไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลในบางประเทศสมาชิกอาเซียน ว่าด้วยเรื่องของสถานะและความชอบธรรมในการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อผลักดันนโยบาย
แม้ว่าโดยหลักการที่ระบุอยู่ในกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยการทำงานของอาเซียนทุกอย่างจะมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ในความเป็นจริงอาเซียนไม่ได้จัดเตรียมโครงสร้างอย่างเป็นทางการเพื่อสนับสนุนประชาชนให้มีพื้นที่พูดคุยกันอย่างแท้จริง แม้จะมีการเปิดกว้างให้ภาคประชาชนได้พบปะพูดคุยกับผู้นำอาเซียนก็เป็นเพียงฉากหนึ่งเท่านั้น โดยรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนจะเปิดโอกาสให้ตัวแทนของภาคประชาชาชนประเทศละ 1 คนเพื่อพบปะกับผู้นำอาเซียน (interface dialogue)
แต่ก็มีความพยามแทรกแซงจากทุกรัฐบาลของประเทศสมาชิก ที่อยากจะให้คนที่มีความใกล้ชิดกับภาครัฐเข้ามาเป็นตัวแทนการประชุม เพื่อให้เกิดความราบรื่นปราศจากความคิดเห็นที่แตกต่างที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้ง และอาจเป็นสิ่งที่บั่นทอนภาพลักษณ์การประชุมอาเซียนได้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หลายต่อหลายครั้งเราจะพบปัญหาของการไม่ให้ความร่วมมือของรัฐบาลในประเทศสมาชิกอาเซียนเช่นใน ค.ศ. 2009 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพผู้นำกัมพูชาและพม่าปฏิเสธพบตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกจากเวทีภาคประชาสังคม
ในครั้งล่าสุดการประชุม ACSC/APF ของภาคประชาชนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 ที่ประเทศกัมพูชา ทางรัฐบาลกัมพูชาซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน มีท่าทีขัดขวางไม่ให้ใช้สถานที่จัดประชุมทำให้ภาคประชาชนกัมพูชาเกิดความลำบากในการจัดหาสถานที่ในการประชุม
ขณะที่ในวันเวลาเดียวกันรัฐบาลกัมพูชาได้จัดเวทีภาคประชาชนขึ้นมาอีกเวที ทั้งที่ก็มีเวทีภาคประชาชนที่จัดโดยภาคประชาสังคมในหลายปีที่ผ่านมาอยู่แล้ว จึงทำให้เกิดความสับสนว่าเวทีไหนเป็นเวทีของภาคประชาชน
การกระทำในลักษณะดังกล่าวของรัฐบาลกัมพูชาก็เพื่อลดความสำคัญของเวทีภาคประชาชนที่จัดขึ้นเอง และต้องการนำคนจากเวทีที่รัฐบาลกัมพูชาจัดขึ้นไปพบปะ interface dialogue กับผู้นำอาเซียน แทนเวทีภาคประชาชนที่จัดขึ้นเองโดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ
ประชุมอาเซียนภาคประชาชนครั้งที่8
เหตุการณ์ลักษณะนี้คงเป็นตัวชี้วัดได้เป็นอย่างดีถึงทัศนคติของรัฐบาลประเทศสมาชิกกับภาคประชาสังคม การไม่ให้ความสำคัญกับกระบวนการภาคประชาชนในอาเซียนของรัฐบาลประเทศสมาชิกในอาเซียน อีกทั้งการพบปะผู้นำในแต่ละครั้งก็ใช้เวลาเพียง 15-30 นาที ทำให้ไม่มั่นใจว่าการพบปะเพื่อยื่นข้อเสนอจะก่อให้เกิดผลในการขับเคลื่อนมากน้อยเพียงใด
ประเด็นที่ภาคประชาสังคมมักถูกโจมตีเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือคือเรื่องความชอบธรรมในการเป็นตัวแทนภาคประชาชน กับฝ่ายรัฐบาลอาเซียนซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนอันชอบธรรมโดยกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้มักถูกหยิบยกเป็นเหตุผลชั้นดีเมื่อรัฐบาลอาเซียนต้องการปฏิเสธข้อเสนอของเวทีภาคประชาสังคม โดยโจมตีไปที่สถานะของกลุ่มภาคประชาสังคมโดยไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นที่ภาคประชาสังคมตั้งข้อสังเกตหรือข้อโต้แย้ง
แต่ในขณะเดียวกันเรื่องบางเรื่องคงไม่ต้องถกเถียงกันถึงความชอบธรรมของสถานะมากนักอย่างประเด็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งผู้ละเมิดเป็นฝ่ายรัฐเสมอ ทำให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบก็สามารถท้วงติงได้ โดยประเด็นที่เกิดการท้วงติงกันล่าสุดนี้ คือกรณีที่ผู้นำประเทศอาเซียนเดินหน้ารับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration)
โดยภาคประชาสังคมโต้แย้งว่าเป็นกฎบัตรที่ทำลายกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เพราะเนื้อหาของปฏิญญาฉบับนี้ได้สร้างความชอบธรรมให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้อยู่ใต้เขตอำนาจของรัฐเสมือนการไปรับรองการละเมิดสิทธิของรัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียน
แต่สุดท้ายสิ่งที่ภาคประชาชนทำได้คือการบอยคอตด้วยการไม่นำปฏิญญาฉบับนี้มาใช้ในการทำงานกับกลุ่มต่างๆ ที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค เราจะไม่อ้างปฏิญญาฉบับนี้ในการติดต่อกับอาเซียนหรือรัฐภาคีของอาเซียนเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจไปเปลี่ยนเนื้อหาใดๆได้เลย
ข้อเสนอแนะ
“ประชาคมอาเซียน” จะเกิดขึ้นได้ยากในทางปฏิบัติหากไม่มีความร่วมมือของประชาชนในแต่ละประเทศ แม้ว่า จะมีการทำข้อตกลงกันของรัฐบาลในแต่ละเสาหลัก แต่ก็อาจจะเป็นแค่เศษกระดาษหากไม่ได้เกิดจากสำนึกของภาคประชาชนที่อยากจะเข้ามามีส่วนร่วมโดยแท้จริง สิ่งที่จะทำให้เกิดขึ้นได้คือ ต้องสนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับเอื้อโอกาสให้แก่ประชาชนด้วย ดังนั้นการเกิดขึ้งของวงประชุมอย่าง ACSC จะทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีการพบปะพูดคุยกันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสอดคล้องกับความตั้งใจที่จะทำให้เกิด “ประชาคม”
เพราะการจะเป็นประชาคมนั้นจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่รากฐานที่สำคัญที่สุดคือการมีปฏิสัมพันธ์จากประชาชนในกลุ่มประเทศสมาชิก เพราะหากเราย้อนดูภูมิหลังประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นเรามีดินแดนติดกัน มีทั้งความร่วมมืออันดีและการทำสงครามกันมาก่อน ทำให้ประเทศในอาเซียนยังมีกลิ่นอายของลัทธิชาตินิยมอยู่มาก ที่แต่ละรัฐปลูกฝังกันมานานเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในยุคต่างๆ ทำให้ประชาชนในประเทศสมาชิกยังมีความเกลียดชัง ดูถูก รังเกียจ ไม่ไว้วางใจประเทศเพื่อนบ้านกันอยู่มาก
ในทางกลับกัน เราจะพบว่าในปัจจุบันการเป็นประชาคมอาเซียนกลับต้องพยามลดทอนเรื่องความเป็นชาตินิยมให้ลดน้อยลงเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีระหว่างประชาชนด้วยกัน ฉะนั้นการพบปะพูดคุยและทำงานร่วมกันของภาคประชาชนก็จะส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีได้อย่างแน่นอนและจะทำให้อาเซียนเป็นประชาคมภาคปฏิบัติไม่ใช่เพียงเศษกระดาษเหมือนอย่างที่เป็นอยู่
ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่รัฐบาลอาเซียนต้องทำก็คือผลักดันให้เกิดการขึ้นทะเบียนขององค์กรภาคประชาสังคมในปัจจุบันที่มีอยู่มากและปรับปรุงกระบวนการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในทิศทางการขับเคลื่อนอาเซียน โดยการรับรองสถานะของเวทีภาคประชาชนหรือภาครัฐอาจจะจัดเวทีร่วมกับภาคประชาชนเพื่อนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมของแต่ละครั้งเสนอแก่รัฐต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒนาการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาประชาคมอาเซียนต่อไป
ท่ามกลาง 3 เสาหลักแห่งประชาคมอาเซียน เสาด้านสังคมและวัฒนธรรมนี้ถือเป็นเสาที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์โดยเฉพาะเจาะจงที่สุด ประเด็นที่พูดถึงกันบ่อยคือความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศในอาเซียน รวมทั้งประเด็นประวัติศาสตร์ของอาเซียนที่ได้เผชิญกันมาบ้างทั้งดีและร้าย และยากจะลืมเลือน
เนื่องจาก เสาด้านสังคมและวัฒนธรรมมักเป็นฐานรากของความสัมพันธ์ในระดับประชาชน และฐานรากที่สำคัญนี้ถือเป็นระดับล่างของสังคมที่มีขนาดกว้าง แต่ภาครัฐมักจะลืมเลือนหรือให้ความใส่ใจต่อประเด็นดังกล่าวน้อยกว่าเสาด้าน ความมั่นคงและเศรษฐกิจ
ด้วยเหตุนี้ ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในช่วงสิ้นปี 2015 นี้ SIU ได้รวบรวมบทสรุปเกี่ยวกับมิตินี้ในประเด็นที่สำคัญ ซึ่งเคยเสนอไปบ้างแล้ว เพื่อร่วมทบทวนในการให้ความสำคัญกับเสานี้อย่างจริงจัง ก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียนสิ้นปี 2015 นี้

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำชับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และฐานข้อมูลอาชญากรรม เตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำชับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และฐานข้อมูลอาชญากรรม เตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน:



ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำชับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และฐานข้อมูลอาชญากรรม เตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบนโยบายให้กับข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเตรียมความพร้อมให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไทยเป็นประตูสู่อาเซียน โดยเน้นการบริหารจัดการชายแดนและแก้ปัญหาภัยคุกคามทุกรูปแบบ การสร้างความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว บริการ และการลงทุน การสร้างความร่วมมือด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร โดย พลตำรวจเอกอดุลย์ ได้กำชับให้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พัฒนาบุคคลากร และฐานข้อมูลอาชญากรรม ที่ต้องเชื่อมโยงกับประเทศอื่น ๆ ด้วย รวมถึงระบบตรวจสอบคนเข้าเมือง โดยจะเตรียมพร้อมในด้านการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ภาษา การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทั้ง 103 ด่าน ให้สามารถปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

ส่วนการจัดการชาวโรฮิงญาก่า 1,000 คน ที่ลักลอบเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ได้มอบหมายให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดูแลตามหลักมนุษยธรรม ส่วนการผลักดัน จะต้องร่วมกับหลายหน่วยงาน ในการจัดการว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป


ผู้สื่อข่าว : จุฑามาส รักษาพันธุ์ / สวท.


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว : พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว

สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจ.สงขลา ต่อยอดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมควบคู่ศาสนารองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลังมีคู่รักชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และบรูไนเข้ามาทำพิธีแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก

สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจ.สงขลา ต่อยอดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมควบคู่ศาสนารองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลังมีคู่รักชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และบรูไนเข้ามาทำพิธีแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก:



นายเฉ็ม เหมมัน รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จากการที่มีคู่รักมุสลิมชาวต่างชาติโดยเฉพาะจากมาเลเซีย พากันมาทำพิธีนิกะห์ หรือแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม ที่มัสยิดกลางประจำจ.สงขลา เป็นจำนวนมากวันละ 12-30 คู่ ทั้งหนุ่มสาว ภรรยาคนที่สอง และชาวมาเลเซียที่มาแต่งงานกับคนไทย

ทางคณะกรรมการอิสลามประจำจ.สงขลา มีแผนที่จะต่อยอดส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมควบคุมศาสนา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เพราะนอกจากชาวมาเลเซียที่มาทำพิธีนิกะห์แล้วยังคู่รักในประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์และบรูไน เดินทางเข้ามานิกะห์ที่มัสยิดกลางประจำจ.สงขลา ด้วยและการเดินทางเข้ามาจะเป็นครอบครัวใหญ่ และจะอยู่ฉลองแต่งงานโดยท่องเที่ยวที่ จ.สงขลา และเดินทางไปท่องเที่ยวตามจังหวัดท่องเที่ยวในภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันอีกหลายวัน
ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะดึงนักท่องเที่ยวได้อีกกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตามปกติในรูปแบบของกรุ๊ปทัวร์ ทั้งนี้นอกจากจะส่งเสริมด้านศาสนาแล้วยังสามารถสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวในภาพรวมด้วย

ผู้สื่อข่าว : สุธิดา พฤกษ์อุดม


หน่วยงาน : สวท.สงขลา


ที่มาของข่าว :

จัดหางาน จ.ตราด ดึงครูแนะแนวในสถานศึกษาร่วมเป็นเครือข่ายการแนะแนวอาชีพรองรับ AEC

จัดหางาน จ.ตราด ดึงครูแนะแนวในสถานศึกษาร่วมเป็นเครือข่ายการแนะแนวอาชีพรองรับ AEC:


ภาพประกอบ
วันนี้ (30 ม.ค. 56) นายณรงค์ ธีรจันทรางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดโครงการแนะแนวอาชีพกิจกรรมสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ซึ่งจังหวัดตราดโดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดตราด ดำเนินการจัดขึ้น ที่หอประชุมวิทยาลัยชุมชนตราด โดยมีครู อาจารย์แนะแนวในสถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดตราด กว่า 50 คนเข้าร่วมโครงการ

นางภัทราภรณ์ ศิริการ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ ปฏิบัติราชการแทน จัดหางานจังหวัดตราด กล่าวว่า โครงการแนะแนวอาชีพกิจกรรมสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ จัดขึ้นเพื่อสร้างกระบวนการที่สำคัญในการแนะนำช่วยนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานได้มีแนวทางเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง

ทั้งนี้เนื่องจากครู อาจารย์แนะแนวจากสถานศึกษาต่าง ๆ นับเป็นบุคคลที่สำคัญที่ใกล้ชิดกับนักเรียน นักศึกษา มากที่สุด โดยจะเป็นผู้แนะแนวทางในการประกอบอาชีพแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนนักศึกษา ที่จะจบการศึกษาออกไป สามารถหางานทำได้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการที่ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจะเข้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีหลายอาชีพสามารถเดินทางทำงานในประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ ดังนั้นการจัดโครงการนี้ยังเป็นการมุ่งให้ความรู้ด้านสถานการณ์แรงงานเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอีกทางหนึ่งด้วย

ผู้สื่อข่าว : ปิยวิทย์ ทรัพย์ขจร


หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดตราด


ที่มาของข่าว : นางภัทราภรณ์ ศิริการ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ ปฏิบัติราชการแทน จัดหางานจังหวัดตราด

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้นิทานเป็นสื่อสร้างความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้นิทานเป็นสื่อสร้างความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน:


ภาพประกอบ
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดแถลงข่าวความพร้อมการจัดงานเทศกาลเล่านิทานนานาชาติ ครั้งที่ 1 ระหว่าง 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อสร้างความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย เตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ที่ห้องประชุมแม่น้ำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิน บุตรดีสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและกิจการพิเศษ เป็นประธานเปิดการแถลงข่าวความพร้อมการจัดงานเทศกาลเล่านิทานนานาชาติ ครั้งที่ 1
ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีกสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ : สปาฟา (SEAMEO-SPAFA) และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐจาร์คฮานด์ ประเทศอินเดีย (Central University of jharkhand,India) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2556 ที่อาคารศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ และอาคารเรียนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วยุพา ทศศะ , ดร.ประสงค์ สายหงส์ และอาจารย์ทม เกตุวงศา เป็นผู้ให้ข้อมูลในด้านต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยใช้นิทานเป็นสื่อกลาง

สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ อาทิ การแสดงการเล่านิทานจากนักเล่านิทานชื่อดังจากทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรอังกฤษ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย , การเล่านิทานพื้นบ้านจากนักเล่านิทานพื้นบ้านไทยจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของประเทศไทย ,การอบรมเทคนิคการเล่านิทานพื้นบ้านและการเล่านิทานที่ใช้ในการเรียนการสอน, การอบรมการเล่านิทานสำหรับเด็ก, การประกวดการเล่านิทาน, การประกวดการผลิตหนังสือภาพจากนิทานพื้นบ้าน, การประกวดการวาดภาพระบายสีประกอบนิทานพื้นบ้าน ชิงรางวัลโล่เกียรติยศ และทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 20,000 บาท ตลอดจนการแสดงศิลปะและวันธรรมโดยอาจารย์และนักศึกษาจากประเทศเวียดนามและประเทศเขมร ในวันที่ 31 มกราคม 2556 เวลา 9.30 - 12.00 น. ที่ห้อง IT1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเขตพื้นที่ในเมือง

ผู้สื่อข่าว : สิงหา โพธิแท่น


หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม


ที่มาของข่าว :

จังหวัดกาญจนบุรีทำพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ MOU การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

จังหวัดกาญจนบุรีทำพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ MOU การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558:

วีดีโอประกอบ

ที่ห้องสังขละบุรี โรงแรมริเวอร์แคว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานและสักขีพยานในการทำข้อตกลง ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกาญจนบุรี หรือ กศน.กาญจนบุรี ร่วมกับ ตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี พลตำรวจตรี กมลสันติ กลั่นบุศย์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี และนายสมยศ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้แทนในการลงนามข้อตกลงในครั้งนี้ สืบเนื่องจากทั้งสองหน่วยงานได้เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอันสำคัญที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่และประชาชนที่อาศัยในจังหวัดกาญจนบุรี อันเนื่องมาจากการรวมตัวเปิดประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย จึงมีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในจังหวัด และอาจมีความจำเป็นต้องใช้ภาษาในการสื่อสาร โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ต้องปฏิบัติงานบริการประชาชน ยังขาดทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ มีความจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพด้านภาษาเป็นอย่างยิ่ง จึงมีการลงนามข้อตกลงในการอบรมภาษาต่างประเทศเพื่อรองรับการเปิดประเทศประชาคมอาเซียน เปิดอบรมให้ตำรวจชั้นประทวนและสัญญาบัตร จำนวน 120 คน สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง จนครบทุกนาย โดยทางกศน.กาญจนบุรี จะเป็นผู้จัดหาบุคลากรในการสอน ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า และภาษาจีน




ประจักษ์ – ภาพ / สมรรัตน์ - ข่าว


ผู้สื่อข่าว : ชัยรัตน์ อินทเชตุ


หน่วยงาน : สำนักข่าว


ที่มาของข่าว :

ส.ปชส.ศรีสะเกษ ส่ง นายธนกรณ์ฯ ร่วมการแข่งขัน ASEAN QUIZ การแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน

ส.ปชส.ศรีสะเกษ ส่ง นายธนกรณ์ฯ ร่วมการแข่งขัน ASEAN QUIZ การแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน:


ภาพประกอบ
วันนี้ (29 ม.ค. 56) เวลา 10.00 น. นายพินิจ วงษ์โสภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ รายงานว่า ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดประชุมภายในองค์กรของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีการประชุมในหลายวาระ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในสำนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้สัมฤทธิ์มากที่สุด

ในโอกาสเดียวกัน ได้มีการหารือเกี่ยวกับการคัดสรรตัวแทน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ASEAN QUIZ การแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน รอบที่ 1 ได้แก่ ประเภทข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป และประเภทข้าราชการระดับชำนาญการ อาวุโส ชำนาญงาน ปฏิบัติการ ปฏิบัติงาน พนักงานราชการ และลูกจ้างโดยการแบ่งทีม ซึ่งมี สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสำนักงานประชาสัมพันธ์แต่ละจังหวัด ร่วมตั้งทีมแข่งขันข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป และประเภทข้าราชการระดับชำนาญการลงมา ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ โดยนายพินิจ วงษ์โสภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ มีมติเป็นเอกฉันฑ์ ว่าจะส่ง นายธนกรณ์ ยิ้มสงวน เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน ซึ่งมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับ เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เข้าร่วมการแข่งขัน ในครั้งนี้

นายพินิจ วงษ์โสภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ระบุว่า การแข่งขันในครั้งนี้ ทางสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ไม่ได้หวังผลรางวัลแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการเพิ่มความรู้ ความสามารถของบุคลากร ให้ได้รับประสบการณ์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำมาเผยแพร่ต่อบุคลากรในสำนักงานต่อไป ก็ถือว่าได้ประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จิรภัทร หมายสุข รายงาน


ผู้สื่อข่าว : จิรภัทร หมายสุข


หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ


ที่มาของข่าว : นายพินิจ วงษ์โสภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ

บทความ : เลขาธิการอาเซียนคนใหม่

บทความ : เลขาธิการอาเซียนคนใหม่:


ภาพประกอบ
ในปี 2013 อาเซียนเข้าสู่วาระที่ใกล้เข้าสู่การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เพิ่งก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนที่ 12 โดยมี เล เลือง มินห์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทน นับเป็นเลขาธิการอาเซียนคนที่ 13 และจะอยู่ในตำแหน่งนี้เป็นเวลา 5 ปี

สำนักเลขาธิการอาเซียน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519 หลังการลงนามในข้อตกลงการจัดตั้งที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาปี 2524 รัฐบาลอินโดนีเซียได้มอบอาคารเพื่อให้ใช้เป็นสำนักงานใหญ่ถาวรของอาเซียน ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ และระหว่างประเทศคู่เจรจาของอาเซียน อาเซียนมีเลขาธิการผ่านมาแล้วรวม 12 คน เลขาธิการอาเซียนคนแรกคือ ฮาร์โตโน เรกโซ ดาร์โซโน จากประเทศอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่งในปี 2521 สำหรับประเทศไทยเคยมีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน 2 คน คือ นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการอาเซียนคนที่ 6 และล่าสุดที่เพิ่งก้าวลงจากตำแหน่ง คือ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนที่ 12 การดำรงตำแหน่งของเลขาธิการอาเซียนเป็นตำแหน่งเวียนเรียงลำดับตามตัวอักษรของประเทศสมาชิก

เล เลือง มินห์ เป็นหนึ่งในนักการทูตคนสำคัญของเวียดนาม มีบทบาททางการทูตระหว่างประเทศยาวนาน เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนเวียดนามในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติช่วงปี 2551-2552 ได้รับตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติถึง 2 ครั้ง ซึ่งการดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนในวาระนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาที่อาเซียนต้องฝ่าอุปสรรคท่ามกลางความขัดแย้งต้องแก้ข้อขัดแย้งระดับภูมิภาคในประเด็นทะเลจีนใต้ โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในคู่กรณีในประเด็นนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าบทบาทเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันจะเป็นอย่างไร ในขณะเดียวกันต้องหลอมรวมประเทศสมาชิกให้เป็นหนึ่งเดียว ก่อนที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี ค.ศ.2015 หรือ พ.ศ.2558

ธัญญาทิพย์ ศรีพนา ผู้เชี่ยวชาญเวียดนามและแม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า เล เลือง มินห์ มีความเชี่ยวชาญด้านการทูตระหว่างประเทศ ทิศทางนโยบายการต่างประเทศของเวียดนามที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะการเมืองที่มีเสถียรภาพและจะต้องผ่านจากศูนย์กลางการบริหารในฮานอย จึงเชื่อว่า เล เลือง มินห์ จะแสดงบทบาทได้อย่างมีเกียรติภูมิในช่วงจังหวะที่อาเซียนต้องแก้ไขข้อขัดแย้งระดับภูมิภาคในประเด็นทะเลจีนใต้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเวียดนามและแม่โขงศึกษาให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า เวียดนามจะมีพื้นที่ในการผลักดันการเจรจาเรื่องปัญหาทะเลจีนใต้มากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้ดี แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาในมุมของอธิปไตย และในแง่การเมืองด้วย

ฟาม บิงห์ มิงห์ รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทการทำงานของ เล เลือง มินห์ ว่า มีคุณสมบัติพร้อมในทุกประการและต้องปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ชาติอาเซียนเป็นหลัก ต้องทำงานในระดับนานาชาติและเป็นนักการทูตระดับภูมิภาค การปฏิบัติงานเพื่อผลักดันอาเซียนในปี 2015 จึงต้องติดตามดูผลงานว่า จะนำอาเซียนเดินไปในทิศทางเพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาคมากเพียงใดนับจากนี้ไปอีก 5 ปีข้างหน้าขณะที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง โดยจะมีทีมทำงานด้านการต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพของเวียดนามคอยสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง





เรียบเรียงโดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์

ส่วนการประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์



ผู้สื่อข่าว : สุริยน ตันตราจิณ


หน่วยงาน : สำนักข่าว


ที่มาของข่าว : ส่วนการประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์

กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงนามความร่วมมือโครงการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ เพื่อยกระดับความสามารถและพัฒนาการบริหารเตรียมรับประชาคมอาเซียน

กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงนามความร่วมมือโครงการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ เพื่อยกระดับความสามารถและพัฒนาการบริหารเตรียมรับประชาคมอาเซียน:



กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงนามความร่วมมือโครงการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ เพื่อยกระดับความสามารถและพัฒนาประสิทธิการบริหารเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ ในกลุ่มผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อยกระดับความสามารถในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐมีความสามารถในการบริหารเชิงบูรณาการและมิติความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยนายนนทิกร กล่าวว่า หลักสูตรการอบรมประกอบด้วยหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระยะยาว เน้นการพัฒนาทักษะการคิดและการพัฒนาการทำงานเพื่อทำงานเชิงบูรณาการ การเสวนาการสร้างเครือข่าย, การศึกษาดูงาน, การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการรวบรวมความรู้ไปเผยแพร่ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดี และผู้ว่าราชการจังหวัด เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2556
ด้านนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ หวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน การพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ รวมถึงการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน ต้องมีความรับผิดชอบและมีความตั้งใจในการรับความรู้ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้บรรลุเป้าหมายที่โครงการฯ กำหนดไว้

ผู้สื่อข่าว : ขนิษฐา ลือสัตย์


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว :

กรมการค้าต่างประเทศ ทำความเข้าใจผู้ประการ นำเข้า-ส่งออกสินค้า 6 ชนิด ที่ประกาศจัดระเบียบ เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยรับ AEC

กรมการค้าต่างประเทศ ทำความเข้าใจผู้ประการ นำเข้า-ส่งออกสินค้า 6 ชนิด ที่ประกาศจัดระเบียบ เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยรับ AEC:


ภาพประกอบ
กรมการค้าต่างประเทศ ทำความเข้าใจผู้ประการ นำเข้า-ส่งออกสินค้า 6 ชนิด ที่ประกาศจัดระเบียบ เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยรับประชาคมอาเซียน
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศจัดระเบียบนำเข้าสินค้า 6 ชนิด คือ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ส้ม หอมแดง เครื่องในสุกร ยางรถยนต์ใหม่ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทพัดลม หม้อหุงข้าว และหลอดไฟ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในการบริโภคและการค้าการแลกเปลี่ยน หากไม่ควบคุมให้มีการซื้อขายอย่างเสรี เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(AEC) ในปี 2558 หากสินค้าเหล่านี้ไม่ได้มาตรฐาน อาจมีอันตรายต่อชีวิตประชาชนได้ โดยสินค้าทั้ง 6 รายการ ต้องมีกระบวนการจัดการใหม่ทั้งหมด คือ ผู้ประกอบการนำเข้าต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับหน่วยงานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ต้องเรียนรู้ในการจัดทำรายงานการนำเข้า การครอบครอง การส่งออก สถานที่เก็บรักษา การจำหน่ายจ่ายโอน และปริมาณคงเหลือ ซึ่งต้องรายงานเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งขณะนี้กรมการค้าต่างประเทศ ได้เร่งวทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการอย่างต่อเนือง อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ประกอบการบางส่วนเห็นว่าเป็นยุ่งยาก แต่ส่วนใหญ่เข้าใจและพร้อมจะเรียนรู้ เพราะจะเป็นการยกระดับคุณภาพสินค้า สร้างมาตรฐานและคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชนในประเทศ
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวด้วยว่าสินค้า 1 ใน 6 ประเภทที่ประกาศจัดระเบียบ เครื่องในสุกรเป็นสินค้าที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นสินค้านำเข้า เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่บริโภคเครื่องในมาก ซึ่งสวนทางกับหลายประเทศที่นิยมบริโภคส่วนเนื้อ จึงจำเป็นต้องควบคุมมาตรฐานการนำเข้าอย่างเข้มงวด


ผู้สื่อข่าว : นฤมล อุดมพร


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว :

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มองการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้เด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มองการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้เด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ:



หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มองการเปิดประชาคมอาเซียน จะทำให้เด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ แต่ต้องสร้างความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมอาเซียนให้มากขึ้น
นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานเปิดงาน “60 ปี สาธิตปทุมวัน...ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ปทุมวัน โดยกล่าวว่า คนไทยมีความตื่นตัวในการรวมตัวสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น ที่จะครอบคลุมทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม ร่วมถึงการเปิดการค้า-การลงทุนเสรี ซึ่งอยากให้ทุกฝ่ายมองในด้านบวก เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ และเป็นโอกาสให้เด็กและเยาวชน เติบโตในภูมิภาคที่รวมเป็นหนึ่งเดียว และสามารถเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพได้อย่างเสรี พร้อมมองว่า หลังเปิดประชาคมอาเซียน ไทยจะได้เปรียบเรื่องที่ตั้ง ที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทาง การเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งต้องเน้นให้เด็กและเยาวชน มีความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมอาเซียนให้มากขึ้น ทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม เงื่อนไขความร่วมมือและข้อตกลงต่างๆ อย่างไรก็ตาม การเป็นประชาคม จะมีความสมบูรณ์ เมื่อคนในอาเซียนมีความรู้สึกเป็นพลเมืองของอาเซียนและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาร่วมกัน


ผู้สื่อข่าว : กนิษฐา บุญแก้ว


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว :

สนง.จ.พะเยา จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมจังหวัดพะเยาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในพื้นที่

สนง.จ.พะเยา จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมจังหวัดพะเยาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในพื้นที่:



นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมจังหวัดพะเยาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่ห้องพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งสำนักงานจังหวัดพะเยาจัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรในพื้นที่ รวมทั้งให้จังหวัดมีความพร้อมในการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน สามารถตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วนตลอดจนประชาชนให้มากที่สุด โดยมี ข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากส่วนราชการในสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคเอกชน กว่า 200 คน เข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้

ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ซึ่งจะมีผลให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความมั่นคงเป็นอย่างมาก ทุกภาคส่วนจะต้องปรับตัวให้ทันโดยเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ของจังหวัด จึงจำเป็นต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของจังหวัด เพื่อรองรับผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา โลจิสติกส์อุตสาหกรรม และการพัฒนาสินค้า OTOP เป็นต้น เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับบุคลากรอื่นๆในหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ทราบต่อไป

ด้านนายวิทูรัช ศรีนาม หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพะเยา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของจังหวัดเพื่อรองรับผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงกำหนดให้จังหวัดดำเนินการจัดการฝึกอบรมดังกล่าวขึ้น โดยมีคณะวิทยากรที่ผ่านการฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพของข้าราชการกระทรวงมหาดไทย การพัฒนาทีมวิทยากร (Train the Trainers) นำหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาครอบคลุมการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในทุกด้าน มาร่วมบรรยายให้ความรู้กับผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้


ผู้สื่อข่าว : ประมวล อุปกิจ


หน่วยงาน : สวท.พะเยา


ที่มาของข่าว : นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าฯพะเยา

งานเสวนาทางวิชาการ “ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก”

งานเสวนาทางวิชาการ “ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก”:
งานเสวนาทางวิชาการ   
“ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก”
จัดโดย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่  23 มกราคม 2556
          เมื่อว้นที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก” เพื่อวิเคราะห์ถึงการผลัดเปลี่ยนผู้นำของ 3 ประเทศใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะมีผลกระทบอย่างไรต่อภายในประเทศ ต่อนโยบายต่างประเทศของแต่ละประเทศรวมทั้งผลกระทบต่อไทยและอาเซียน
ในการเสวนาครั้งนี้ มีวิทยากรร่วมเสวนา 3 ท่าน คือ รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  รศ.ดร.นภดล ชาติประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ ผศ.ดร.กิตติ  ประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาและอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ อ.ดร.พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.ดร.กิตติ ได้ให้ทรรศนะถึงผลกระทบของการเปลี่ยนผู้นำในประเทศญี่ปุ่นเป็นนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะซึ่งเป็นนักการเมืองหัวชาตินิยม มีความแข็งกร้าวในนโยบายต่างประเทศเกิดในครอบครัวของนักการเมืองทั้งฝ่ายบิดาและมารดา การดำรงตำแหน่งในครั้งนี้ ถือเป็นรอบที่สอง จึงมีแผนที่จะอยู่ในวาระที่ยาวนานกว่าในสมัยแรกที่ดำรงตำแหน่งอยู่เพียงปีเดียว อาเบะเน้นแนวนโยบายด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพของกองทัพไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มงบประมาณและการมีแผนจะเปลี่ยนชื่อกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น เป็น “กองกำลังป้องกันแห่งชาติ” ซึ่งมีนัยยะสำคัญ ส่วนนโยบายด้านเศรษฐกิจ ได้รับการขนานนามว่า“อาเบะโนมิคส์”ที่เน้นอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยมาตรการการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการก่อสร้างสาธารณูปโภค และนโยบายที่เน้นให้ค่าเงินเยนอ่อน เพื่อรักษาการส่งออก
ส่วนในประเด็นด้านนโยบายต่างประเทศ ผศ.ดร.กิตติได้ให้ความเห็นว่า อาเบะมีแนวทางชาตินิยมที่เด่นชัดกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ โดยเฉพาะในประเด็นทะเลจีนตะวันออกที่กำลังมีปัญหาพิพาทหมู่เกาะกับจีนและกับเกาหลีใต้  ความขัดแย้งกับจีนในประเด็นดังกล่าว อาเบะมีท่าทีชัดเจนที่อาจจะไม่ยอมง่ายๆ  แต่กับเกาหลีก็ยอมผ่อนผันลงไปบ้าง ส่วนความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาถือว่า เป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญโดยเฉพาะการขยายกรอบการพิจารณาข้อตกลงด้านความมั่นคงและป้องกันตนเองของญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา
ทางด้านของรศ.ดร.จุลชีพ ได้ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงผู้นำในประเทศเอเชียตะวันออกถือเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ยุทธศาสตร์ในเอเชียตะวันออกครั้งสำคัญ อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้นำจีนจะเปลี่ยนเป็นนายสีจิ้นผิง แต่โครงสร้างทางการเมืองของจีนที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไป โดยพรรคคอมมิวนิสต์ยังคงมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายทุกอย่าง ผู้อาวุโสของพรรคยังคงมีบทบาทสูงในการกำหนดนโยบายหรือกระทั่งผู้นำ โดยภูมิหลังของสีจิ้นผิงมีบิดาเป็นนักปฏิวัติรุ่นเหมาเจ๋อตง มีความแข็งกร้าวในนโยบายต่างประเทศ ในอดีตมีชีวิตที่ข่มขื่นโดยเฉพาะช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม และค่อยๆ เติบโตทางการเมืองเรื่อยมาเมื่อเข้าสู่ยุคของเติ้งเสี่ยวผิง
ในส่วนของความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากสีจิ้นผิงขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำจีน คือ ประการแรก การปราบปรามคอร์รัปชั่นที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวมากขึ้นในระยะหลัง หากทำสำเร็จทั้งสีจิ้นผิงและพรรคก็จะได้รับความศรัทธาจากประชาชนเพิ่มขึ้น ประการที่สองคือ ด้านเศรษฐกิจคงจะเน้นปฏิรูปต่อไปโดยเฉพาะการเน้นให้คนจีนหันมาใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งดำเนินนโยบายสวัสดิการสังคม
ส่วนในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น รศ.ดร.จุลชีพให้ความเห็นไว้ว่า นโยบายจีนต่อสหรัฐอเมริกามี 2 ลักษณะคือ มีการแข่งขันระหว่างกันและความร่วมมือระหว่างกัน จีนก็ไม่ค่อยพอใจนักที่สหรัฐอเมริกามามีอิทธิพลข้องแวะในเอเชีย และจีนก็ต้องการเป็นมหาอำนาจทางทะเล 2 ทะเลโดยพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งขยายอิทธิพลด้วยการสร้างเมืองท่าด้วย  ส่วนในประเด็นพิพาทกับญี่ปุ่นก็ยังคงยืนยันในอธิปไตยของชาติ จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองกันต่อไป
ทางด้านประเทศเกาหลี รศ.ดร.นภดล ได้ให้ความเห็นโดยกล่าวปูพื้นให้เห็นภูมิหลังของผู้นำคนใหม่ของเกาหลีใต้ที่เป็นสตรี คือ ปาร์คกึนเฮ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเนื่องจากเกาหลีมีวัฒนธรรมขงจื่อแบบเข้มข้น ดังนั้นแรงผลักดันในอดีตบนเส้นทางการเมืองของนางจึงมีส่วนสำคัญและนางปาร์คกึนเฮก็ไม่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำด้วยสถานการณ์เฉพาะหน้า แต่มีบทบาทหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองมาตั้งแต่สมัยบิดา
ทางด้านนโยบายของปาร์คกึนเฮ มองว่า การใช้นโยบายชาตินิยมแบบเข้มข้นอาจจะไม่เกิดขึ้นเนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศเล็ก ซึ่งก็อาจจะมีการจำกัดขอบเขตของความขัดแย้งไว้ ทางด้านของนโยบายต่างประเทศเกาหลีใต้ยังคงมีความสัมพันธ์กับจีนในด้านของการเป็นผู้ค้าทางเศรษฐกิจ ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ยังคงมีความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงในแบบเดิมๆ ซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้นคงต้องผ่านทางจีน
ในประเด็นต่อมา ผู้ดำเนินรายการได้ตั้งคำถามให้เห็นว่าการผลัดผู้นำของ 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกจะมีผลอย่างไรต่อภูมิภาคอาเซียนและไทย
ทางด้านของรศ.ดร.จุลชีพ ได้ให้ความเห็นต่อผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผู้นำจีน โดยได้ชี้ให้เห็นว่า T-pop หรือวัฒนธรรมไทยและสินค้าทางวัฒนธรรมของไทยก็เริ่มปรากฏในจีนเช่นกัน เช่น ละครไทย รวมทั้งภาพยนตร์จีนเรื่อง Lost in Thailand ที่ใช้ฉากในเมืองไทย นอกจากนี้คนจีนก็มาเที่ยวเมืองไทยที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะวัยรุ่น จากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้น และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ก็มองว่า ไทยมีความน่าสนใจ 2 ประการ คือ มีภูมิยุทธศาสตร์ใจกลางอาเซียนและเป็นสะพานเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ รวมทั้ง 2 มหาสมุทรด้วย ส่วนในประเทศอาเซียนอื่นๆ ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ในด้านของข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ที่มีหลายประเทศในอาเซียนเป็นคู่กรณีกับจีน ทางจีนก็มีท่าทีในเชิงการเจรจามากกว่าจะแข็งกร้าวแบบที่กระทำต่อญี่ปุ่น  อย่างไรก็ตามเรื่องของความคลั่งชาติก็ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวล ซึ่งความคลั่งชาติยังคงแฝงอยู่ในประเทศอาเซียน และกลายเป็นเรื่องที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่มีปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้จะต้อง “จัดการกับอารมณ์” ของประชาชนในประเทศตัวเองอย่างไร
ทางด้านนโยบายของเกาหลีใต้ที่จะมีผลกระทบต่ออาเซียน รศ.ดร.นภดลมองว่า เกาหลีใต้อยู่ในเอเชียตะวันออกแต่ก็เป็นประเทศเล็กในภูมิภาคนี้ซึ่งก็ยังไม่ได้รวมกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน ดังนั้นการร่วมมือกับอาเซียนซึ่งอยู่นอกภูมิภาคจึงเป็นทางออกของประเทศเล็กๆ นอกจากนี้การร่วมมือดังกล่าวก็มีกรอบที่ชัดเจน เช่น ASEAN+เกาหลีใต้โดยตรง
ส่วนผลกระทบต่อไทย ก็เห็นว่าไทยยังคงไม่มีท่าทีที่ชัดเจนในการทำให้เป็นศูนย์กลางในนามอาเซียนสำหรับการติดต่อกับเกาหลีใต้ แต่เมื่อพิจารณาจากภูมิยุทธศาสตร์ของไทยมีความได้เปรียบ ดังนั้นจึงควรนำประเด็นนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในฐานะใจกลางภูมิภาค นอกจากนี้การลงทุนของเกาหลีใต้ในไทยยังคงมีความสำคัญ แต่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “แชโบล” ก็ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตมาไทย กลุ่มที่เข้ามาลงทุนมักจะเป็นบริษัทเล็กๆ ขนาด SME ซึ่งกลุ่มนี้มีความอ่อนไหว ย้ายฐานการผลิตได้ง่ายถ้าหากไม่มีนโยบายที่ชัดเจน หรือดึงดูดการลงทุน และเกาหลีใต้ก็ยังคงรุกหนักด้านการลงทุนในอินโดนีเซียด้วย
ส่วนประเทศญี่ปุ่น ผศ.ดร.กิตติได้กล่าวถึงการมาเยือนเวียดนาม ไทยและอินโดนีเซียของอาเบะ ซึ่งมองได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญต่ออาเซียนมากยิ่งขึ้นและประเทศเหล่านี้จะเป็นประเทศหลักของอาเซียน ส่วนประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้แก่ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ ญี่ปุ่นก็ให้รัฐมนตรีต่างประเทศเดินทางมาเยือนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังส่งรัฐมนตรีคลังมาเยือนพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ด้วย ในประเด็นทวาย ญี่ปุ่นมีแผนจะเข้ามาร่วมลงทุนกับไทยและพม่า ซึ่งจะมีการหารือต่อไป จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป แน่นอนว่าอาเบะจะเน้นด้านเศรษฐกิจต่ออาเซียน
แต่ที่สำคัญเป็นพิเศษ คือ การกระชับความสัมพันธ์ทางด้านยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”หรือ strategic partnership โดยเน้นเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางทะเลและนโยบาย open ocean ด้วย
กล่าวโดยสรุป การผลัดเปลี่ยนผู้นำในเอเชียตะวันออกเชื่อมโยงไปถึงการเคลื่อนของภูมิทัศน์ทางยุทธศาสตร์ในประเทศมหาอำนาจของเอเชียตะวันออก ความเปลี่ยนแปลงภายในก็ยังโยงกับภายนอกที่ยังมีเรื่องพิพาทต่อกัน ประเด็นที่น่าสนใจคือว่าด้วยเรื่องทางด้านสถาปัตยกรรมความมั่นคงในเอเชียตะวันออกที่ยังคงไม่ชัดเจน ซึ่งทำให้ภูมิภาคขาดกลไกการจัดการความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ และผู้นำทั้ง 3 ประเทศนี้จะเป็นผู้เข้าบริหารการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมาก่อนแล้ว สิ่งที่น่าจับตาคือ นายกรัฐมนตรีอาเบะของญี่ปุ่นจะเป็นตัวแปรสำคัญในความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเขามีแนวทางชาตินิยมที่ค่อนข้างแข็งกร้าว

ASEAN Forum 5: “ความคุ้มครองทางสังคมกับอาเซียน: ข้อกังวล และข้อเสนอแนะจากภาคประชาชน”

ASEAN Forum 5: “ความคุ้มครองทางสังคมกับอาเซียน: ข้อกังวล และข้อเสนอแนะจากภาคประชาชน”:
การจัดประชุมเวที ASEAN Forum ครั้งที่ 5
 “ความคุ้มครองทางสังคมกับอาเซียน: ข้อกังวล และข้อเสนอแนะจากภาคประชาชน”
วันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 13.00 – 16.30 น.
ห้อง ร.102 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
                ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โครงการ “จับตาอาเซียน” (ASEAN Watch) ได้จัดการประชุมเวที ASEAN Forum ครั้งที่ 5 ขึ้นภายใต้หัวข้อ “การคุ้มครองทางสังคมกับอาเซียน : ข้อกังวล  โอกาส และข้อเสนอแนะจากภาคประชาชน” (ASEAN Forum NGO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนทรรศนะจากผู้แทนภาคประชาชน เพื่อจะนำไปเป็น input สำคัญในการกำหนดประเด็นและโจทย์วิจัยเกี่ยวกับอาเซียน ตลอดจนนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปขบคิดและตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อไป
การประชุมเวที ASEAN Forum ครั้งที่ 5 มีวิทยากร 3 ท่านคือ ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว. คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ จากมูลนิธิชีววิถี และคุณวิไลวรรณ แซ่เตีย รองคณะกรรมการสมานฉัทน์แรงงานไทย และมี ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากองค์กรภาคประชาชนส่งผู้แทนเข้าร่วมการสัมมนากว่า 40 ท่านอีกด้วย
ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง  เปิดประเด็นการสัมมนาว่า ในความเป็นจริงแล้ว ความแตกต่างเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียนเก่า/ประเทศอาเซียนใหม่ ประเทศอาเซียนในภาคพื้นทวีป/ประเทศอาเซียนในภาคพื้นสมุทรยังมีอยู่มาก เช่นนี้แล้วการพัฒนาไปสู่ AEC โดยใช้มาตรการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือไม่  โดยเฉพาะการที่อาเซียนมุ่งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลัก ที่มักเอื้อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนใหญ่เป็นหลัก จะยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาความเสื่อมถอยของชุมชนท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น ภาคประชาชนจึงควรช่วงชิงการดำเนินการไปสู่ประชาคมอาเซียนให้มากขึ้น โดยเริ่มจากผลักดันมาตรการที่ช่วยปกป้องชุมชนท้องถิ่นจากกลุ่มทุน เพื่อการยกระดับการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน โดยเงื่อนไขอันดับแรกของชุมชนและคนเล็กคนน้อย ในการช่วงชิงการดำเนินการก็คือ จะต้องกลับมาตั้งสติเสียให้ได้เสียก่อน จึงจะสามรถวิเคราะห์ปัญหาในภาพรวมได้ ในขณะเดียวกัน ภาครัฐจะต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้มากขึ้นและท้องถิ่นเองก็จำเป็นต้องสร้างฐานความรู้ขึ้นเองด้วย โดยอาจเชื่อมโยงกันเองระหว่างชุมชนท้องถิ่นตามแนวชายแดนและสร้างการเรียนรู้ร่วมกันให้มากขึ้น
คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ จากมูลนิธิชีววิธี ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อกังวลต่ออาเซียน ใน 4 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1.ในบริบทระดับโลก อาเซียนต้องรวมกลุ่มกันให้เข้มแข็ง เพื่อต่อสู้ทัดทานกับประเทศมหาอำนาจที่กำลังให้ความสนใจกับภูมิภาคนี้ 2.ในขณะนี้โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตอาหารและพลังงาน ซึ่งในแง่หนึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในอีกด้านหนึ่งเกิดจากถูกแย่งชิงทรัพยากรโดยกลุ่มทุนข้ามชาติ โดยเฉพาะที่ดินในหลายพื้นที่ของไทยที่ถูกกว้านซื้อโดยกลุ่มทุนข้ามชาติ ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของคนในชนบท ผลที่ตามมาก็คือก็คือการล่มสลายของภาคเกษตรกรรายย่อย ดังนั้นไทยจึงต้องเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านเกษตรกรรมเสียใหม่ โดยการหันมาเพิ่มความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยให้มากขึ้น 3.แนวโน้มที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรมากขึ้นไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย หากแต่เกิดขึ้นทั่วไปในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย 4.ปัญหาที่ควรตระหนักอีกประการหนึ่งก็คือ ปัญหาการทำลายทรัพยากรในเขตร้อน ซึ่งอาเซียนเป็นฐานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของทรัพยากรประเภทนี้ หากทรัพยากรดังกล่าวถูกทำลาย ผลกระทบจะไม่เพียงแต่เกิดกับกลุ่มประเทศอาเซียน หากแต่จะเกิดผลกระทบต่อโลกในภาพรวมด้วย
ด้าน คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย กล่าวในมุมของภาคแรงงานว่า แม้ฝ่ายแรงงานจะตั้งคณะติดตามแล้ว แต่แรงงานไทยทั้งในระบบและนอกระบบ ก็ยังไม่ทราบราบรายละเอียดใดๆ มากนักในเรื่องของข้อตกลงที่ไทยได้ตกลงไปแล้วในกรอบการรวมตัวเป็น AEC ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อแรงงานอย่างแน่นอน ไม่มากก็น้อย และก็พอจะมีให้เห็นบ้างแล้วเช่น การเคลื่อนย้ายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บางประเภท ซึ่งตรงนี้แรงงานไม่สามารถทำอะไรได้เลย เพราะยังขาดข้อมูล สิ่งที่ภาคแรงงานพอจะทำได้ในขณะนี้คือ การพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายภายในของไทย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงาน ตามกรอบอนุสัญญา ILO 87 (อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว) และอนุสัญญา ILO 98 (อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 98 การรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง) ซึ่งพบว่ามีกฎหมายแรงงานไทยหลายเรื่องที่ยังขัดแย้งอนุสัญญาดังกล่าว ทำให้การต่อแรงของแรงงานในประเทศไม่เข้มแข็งอย่างที่ควรจะเป็น
                ในส่วนของผู้ร่วมสัมมนา คุณมุกดา อินต๊ะสาร จากเครือข่ายการเงินชุมชนลำพูน กล่าวว่า ชาวบ้านในจังหวัดลำพูนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องอาเซียนอยู่มาก แต่การเข้ามาทำงานของแรงงานต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน (เช่น การเข้ามาเป็นแรงงานเก็บลำไย) ทำให้ชาวบ้านมีข้อกังวลในเรื่องของโรคระบาดที่จะตามมากับแรงงานต่างชาติ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวข้องกับอาเซียนหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ คุณมุกดา ยังกล่าวถึงความไม่มั่นคงในชีวิตของประชาชนคนเล็กคนน้อยในภาคเกษตร เหตุใดจึงไม่มีการหยิบยกประเด็น “เงินบำนาญของประชาชน” ขึ้นมาถกเถียงในวงกว้าง ซึ่งในกรณีของลำพูน ชาวบ้านได้สร้างกลไกในการดูแลตนเองที่น่าสนใจคือ เครือข่ายการเงินชุมชน ที่เป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับคนในชุมชน และเครือข่ายสร้างบ้านแปลงเมือง เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนซึ่งเป็นการสร้าง“ทุนทางสังคม” ให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่  ทั้งสองเครือข่ายนอกจากจะอาศัยการ “แบใจ” เป็นกลไกของการหลอมรวม-สร้างความรับรู้ร่วมกันแล้ว ยังอาศัยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในพื้นที่อีกด้วย
ครูลำดวน ไกรคุณาศัย จากสุพรรณบุรี กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในระดับโรงเรียนว่า ครูผู้สอนเอง ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนลึกซึ้งมากเท่าที่ควร การส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องอาเซียนในโรงเรียน จึงต้องดำเนินการโดยการเพิ่มความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้กับครูเสียก่อน ไม่ใช่เพียงแค่การใช้ “มาตรการสำเร็จรูป” อย่างเช่นการเรียนภาษาอังกฤษเท่านั้น ด้านผู้แทนจากมูลนิธิเพื่ออิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่าด้านการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีจุดแข็งคือการรู้ภาษามลายูนั้น รัฐควรส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสการศึกษาต่อในประเทศอาเซียนที่ใช้ภาษาดังกล่าว นอกจากนี้ หากกล่าวในระดับของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้ว รัฐไทยยังนับว่าให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านโดยเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศลาว ที่จะมีการเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับอาเซียนเป็นประจำทุกวันหลังข่าวภาคค่ำ เป็นต้น
คุณสุนทรีย์ เซ่งกิ่ง จากเครือข่าย ASEAN Watch (ภาคประชาชน) ได้ชี้ให้เห็นว่า องค์กรภาคประชาชนหลายองค์กรได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งเครือข่ายในการจับตาอาเซียนมาระยะหนึ่งแล้ว โดยพบว่าวิสัยทัศน์ประเทศอาเซียนทุกประเทศคือการมุ่งไปสู่อุตสาหกรรม โดยรัฐมักจะเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน และละเมิดสิทธิชุมชนในการเข้าถึงทรัพยากร  ยิ่งไปกว่านั้นก็ไม่มีมาตรการเยียวยาใดให้กับชุมชนเลย ดังนั้นจึง 1.ต้องมีการสร้างความร่วมมืออย่างเข็มแข็งในหมู่คนที่ไม่ใช่ทั้งรัฐและไม่ใช่ทุน 2.ต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาสโดยการใช้กลไกของอาเซียนในการสร้างมาตรฐานเดียวกันในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น ประเด็นด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น 3.ภาคประชาชนต้องไม่ปล่อยให้อาเซียนเป็นของ “ชนชั้นนำ” (elite) แต่เพียงฝ่ายเดียว
ด้านผู้แทนมูลนิธิพัฒนาแรงงานและอาชีพ ได้ชี้ประเด็นที่น่าสนใจว่า อาเซียนไม่มีนโยบายที่ชัดเจนต่อคนจน และบรรดาข้อตกลงต่างๆ ที่มีอยู่ของอาเซียนเป็นเรื่องเลื่อนลอยและไม่ยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานนอกระบบ ปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาที่อยู่อาศัย คุณสมคิด ด้วงเงิน จากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวเสริมว่า ในปัจจุบันช่างฝีมือในไทยกำลังจะสูญพันธุ์ แม้แต่ช่างก่อสร้างเองก็กำลังถูกแทนที่ด้วยแรงงานจากต่างประเทศ ทั้งนี้แม้รัฐจะเข้ามารับฟังปัญหาของแรงงานนอกระบบ แต่ผู้ที่รับฟังก็ไม่ใช่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ   ผู้แทนมูลนิธิศักยภาพชุมชน กล่าวเสริมว่า ในหมู่เรื่องแรงงานเองก็ยังมีความคิดในเชิงอคติที่แบ่งแยก “ความเป็นเขา”และ “ความเป็นเรา” อยู่ นี่คืออุปสรรคสำคัญของการรวมตัวกันเป็นอาเซียน ทั้งนี้การสร้างองค์ความรู้และการเชื่อมโยงความเข้าใจของคนที่ต่างภาษาวัฒนธรรมกันนั้น อย่างไรเสียก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
ส่วนผู้แทนมูลนิธิชุมชนไทย กล่าวว่า เป็นปัญหาใหญ่ที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่ก็คือการสูญเสียทรัพยากรและที่ดินทำกิน โดยเฉพาะในชนบทของลาว เนื่องจากการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำ และการสร้างทางรถไฟ ทั้งนี้การเชื่อมโยงกันในหมู่ภาคประชาชนในประเทศอาเซียนที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน อาจเป็นโอกาสในการคัดค้าน ถ่วงดุลการ “พัฒนา” ในลักษณะดังกล่าวของอาเซียนได้็นที่แล้ว HHadg]poวสวเศ

Agenda Bangkok (8) “AEC Megacities” กรุงเทพเมืองหลวงแห่งอาเซียน?

Agenda Bangkok (8) “AEC Megacities” กรุงเทพเมืองหลวงแห่งอาเซียน?:
อีกไม่ถึง 3 ปี ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ กรุงเทพฯ นั้นจะเป็นเมืองหน้าด่านของประเทศไทย ด้วยที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทยที่มีความเหมาะสมเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคอาเซียน ที่เป็นส่วนแผ่นดิน และส่วนที่เป็นภาคพื้นทะเล ดังนั้น จึงเป็นโอกาสและความท้าทายของกรุงเทพฯ และประเทศไทย ในการที่จะก้าวมาเป็น “เมืองหลวงแห่งอาเซียน”
เพราะในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นมหาอำนาจใหญ่ๆ ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และสหภาพยุโรปให้ความสนใจกับอาเซียนอย่างมาก และเห็นการขยายตัวเปิดประเทศอย่างต่อเนื่องของประเทศสมาชิกอาเซียนเองอย่าง ลาว กัมพูชา และพม่าจากข้อมูลที่ Agenda Bangkok ได้ศึกษามาภูมิภาคอาเซียนนั้นเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตของเมือง (Urbanization) ที่โตเร็วที่สุด ติดต่อกันมาถึง 3 ทศวรรษ
สิ่งที่เราจับตาก็คือการเปลี่ยนผ่านของ 4 ประเด็นคือ ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมือง เส้นเลือดของเมือง นวัตกรรมเมือง และการเป็นมหานครชั้นนำของโลก ซึ่งตอนนี้ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนอยู่ในเฟสที่เรียกว่า “มหานครแห่งอุตสาหกรรมการผลิต” ที่เน้น การผลิตอุตสาหกรรมหนักและเคมี เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ วัตถุสังเคราะห์ และปิโตรเคมี
โดยใช้การส่งต่อพลังงานทางสายเคเบิ้ลออพติกเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเมือง และนวัตกรรมที่เมืองผลิตได้ในปัจจุบันนั้นคือ ประดิษฐกรรมที่มีมูลค่าแต่ยังอยู่ในสถานะการจ้างประกอบหรือผลิตชิ้นส่วน เช่น คอมพิวเตอร์ ทีวี ยารักษาโรค
แต่ถ้าเทียบกับศูนย์กลางการผลิตของโลกอย่างแฟรงก์เฟิร์ตในเยอรมัน และโตเกียวในญี่ปุ่นที่มีหน้าที่ออกแบบนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมเพื่อจะจ้างประเทศต่างๆ ผลิตนั้นยังห่างชั้นอยู่นัก
แต่สิ่งที่กรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ ในประชาคมอาเซียน จะต้องก้าวต่อไปก็คือเป้าหมายที่เป็น “มหานครของโลก” โดยจำเป็นที่จะต้องยกระดับเศรษฐกิจหลักของเมืองให้ก้าวไปสู่สินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพและความเป็นนวัตกรรมที่สูงขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ สินค้าไบโอเทคโนโลยีสำหรับประเทศที่มีฐานการเกษตร ระบบการขนส่งและคมนาคม ซึ่งในส่วนนี้ กรุงเทพฯ จะได้เปรียบที่สุดในด้านที่ตั้ง ซึ่งติดทางออกทะเล
เมืองมหานครแห่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC Megacities
เมืองมหานครแห่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC Megacities (*คลิกเพื่อดูภาพขยาย)
โดยสายเคเบิ้ลออพติกยังคงมีความสำคัญในการขนส่งพลังงานในการหล่อเลี้ยงเมือง ส่วนสินค้านวัตกรรมใหม่ที่น่าจะถูกคิดค้นขึ้นเองในภูมิภาคเช่น สมาร์ทโฟนที่ดำริโดยภูมิภาค หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ก้าวหน้าอย่าง สเต็มเซลส์ และเชื่อว่าแกนของเศรษฐกิจโลกจะให้ความสำคัญกับภูมิภาคอาเซียนในระดับเดียวกับเซี่ยงไฮ้ในจีน หรือมุมไบในอินเดีย
ในภูมิภาคอาเซียนนั้น จะต้องเผชิญความท้าทายร่วมกันทั้งในเรื่องการอพยพย้ายถิ่นฐาน สังคมผู้สูงอายุ ความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และความคาดหวังในประชากรรุ่นต่อๆ ไป ดังนั้นการสอดประสานความร่วมมือจึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาไปด้วยกัน ท่ามกลางปูมหลังที่มีความแตกต่างและขัดแย้งกันอยู่ในที
แนวโน้มของเทรนด์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นสูงอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และจะนำไปสู่ข้อโต้แย้งในระดับสูง โดยเฉพาะหากในหลายๆ ประเทศยังเดินหน้านโยบายชาตินิยมทั้งทางการเมือง และสังคม ปัญหาดังกล่าวจะเป็นจุดเปราะบางสำหรับการแตกความร่วมมือกันได้ ซึ่งปัญหาหนึ่งก็คือ แบบเรียนทางประวัติศาสตร์ในแต่ละชาติมีความเป็นชาตินิยมสูง ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลอย่างมากในแง่ของเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีส่วนเชื่อมที่สำคัญ ปรากฏการณ์ทางสังคมอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจ หรือตัวเศรษฐกิจเองก็อาจมีส่วนในกำหนดความเป็นไปในสังคม
ข้อเสนอ (Proposal)
สิ่งสำคัญต่อกรุงเทพฯ ในฐานะประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน ก็คือการจัดตั้งความร่วมมือในระดับ “สันนิบาตเมือง” (Urban league) ที่จะเป็นการสร้างมาตรฐาน ความเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกันระหว่างเมืองมหานครในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือแม้กระทั่งเวทีความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเมืองหลวงที่จะพบปะกันในวาระประจำ หรืออาจจะเริ่มในระดับเมืองคู่ขนานก่อน
กลไกที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการมีกลไกที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกระทรวงต่างประเทศในบริบทกรุงเทพมหานครเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองมหานครและเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเมืองแห่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  พร้อมหรือยังที่จะมีกระทรวงอาเซียนเสียที?
ประโยชน์ที่จะได้รับ (Benefit)
หากทำสำเร็จก็คือ กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นผู้นำแนวคิดการสร้างเมืองมหานครแห่งเศรษฐกิจอาเซียน และกรุงเทพมหานครมีศักยภาพเป็นเมืองมหานครสำคัญ ระดับเดียวกับโตเกียว นิวยอร์ค หรือลอนดอน ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามาบริหารกรุงเทพฯ ประชาชนกรุงเทพฯ และภาคธุรกิจจะต้องร่วมสร้างกันเพราะประชาคมอาเซียนเป็นเรื่องของคนทุกคน
ติดตามความเคลื่อนไหวของกรุงเทพได้ที่นี่

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

รายงานพิเศษ:เลขาธิการอาเซียน

รายงานพิเศษ:เลขาธิการอาเซียน:



การขับเคลื่อนความร่วมมือของประชาคมอาเซียน ถือเป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ที่จะต้องร่วมกันให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกันในทุกด้าน ตลอดจนการสร้างความแข็งแกร่งให้กับภูมิภาค ซึ่งทั้งหมดนี้ตั้งแต่ช่วงแรกของการก่อตั้ง จนถึงปัจจุบันต้องอาศัยกลไกการทำงานต่าง ๆ มากมาย ทั้งการหารือในระดับผู้นำ ระดับรัฐมนตรีและคณะกรรมการร่วม แต่อีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญคือเลขาธิการอาเซียน ที่ต้องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภายใต้การประสานงานกับทั้ง 10 ประเทศ
สำหรับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี หมุนเวียนใน 10 ประเทศ โดยไทยมีตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่นี้แล้ว 2 คน คือนายแผน วรรณเมธี อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งปี 2527 – 2529 และคนที่สองที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งคือ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งระหว่าง 1 มกราคม 2551 – 31 ธันวาคม 2555 โดยการรับตำแหน่งของนายสุรินทร์ นั้น ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากอาเซียนกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า ‘ประชาคมอาเซียน’ โดยตลอด 5 ปีในการทำงานของนายสุรินทร์ มีนักวิชาการหลายคนให้ความเห็นว่านายสุรินทร์ได้ใช้ความพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับโลกภายนอก รวมถึงชาติภาคี ASEAN ให้เปิดกว้าง โปร่งใสมากขึ้น และเชื่อว่าได้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับ ASEAN ในเวทีนานาชาติ รวมถึงการกระตุ้นให้ ASEAN ก้าวหน้าไปมาก ตลอดจนสร้างความเป็นอิสระมากขึ้น ทั้งนี้ ในโอกาสพ้นจากตำแหน่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความชื่นชมที่นายสุรินทร์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขาธิการอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ ราบรื่น ประสบความสำเร็จ และช่วยย้ำถึงบทบาทอันสร้างสรรค์ของไทยในอาเซียน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะต้องติดตามต่อจากนี้คือการทำงานของนาย เลอ เลือง มินห์ ตัวแทนจากเวียดนามที่จะเข้ามารับหน้าที่ต่อ ระหว่างปี 2556-2563 ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งภายใต้การเปลี่ยนที่รวดเร็วของโลกในปัจจุบัน และการที่ต้องพยายามสร้างประชาคมอาเซียนให้ได้ภายในปี 2558



ผู้สื่อข่าว : อภิสิทธิ์ จันทร์เต็ม / สวท.


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว :

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดทำยุทธศาสตร์อย่างมืออาชีพ” มุ่งเน้นพื้นที่ การคิดเชิงยุทธศาสตร์ การปรับเปลี่ยนการพัฒนาจังหวัดสู่อาเซียน

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดทำยุทธศาสตร์อย่างมืออาชีพ” มุ่งเน้นพื้นที่ การคิดเชิงยุทธศาสตร์ การปรับเปลี่ยนการพัฒนาจังหวัดสู่อาเซียน:


ภาพประกอบ


วันนี้ (28ม.ค.56) เวลา 09.30 น. ที่ โรงแรมหาดแก้ว รีสอร์ท อ.สิงหนคร จ.สงขลา นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดทำยุทธศาสตร์อย่างมืออาชีพ” โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้(จ.สงขลา , สตูล , ปัตตานี , ยะลา และนราธิวาส) เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ จำนวนกว่า 100 คน
นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา หัวหน้าสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ครั้งที่ 10/2555 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ที่ประชุมเสนอให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำของกลุ่มจังหวัด เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำแผนพัฒนา และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ทางสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน จึงได้จัดการฝึกอบรมในครั้งนี้ ขึ้น ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2556 โดยกำหนดหลักสูตรเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ สามารถนำแผนมาปฏิบัติได้จริง อีกทั้งเป็นการเพิ่มความรู้ในเรื่องการเขียนโครงการและการบูรณาการโครงการเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งเน้นพื้นที่ การคิดเชิงยุทธศาสตร์ การปรับเปลี่ยนการพัฒนาจังหวัดสู่อาเซียนด้วยแผนยุทธศาสตร์ ตลอดจนการนำแนวทางและนโยบายรัฐบาลแปลงไปสู่การปฏิบัติสำหรับการอบรมฯในครั้งนี้ จัดให้มีการบรรยายในหลายหัวข้อ อาทิ ทิศทางและข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน , ระเบียบและการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ , การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดอย่างชาญฉลาดเพื่อประสิทธิผลสู่การเปลี่ยนแปลงสูงสุด ฯลฯ



ด้าน นายกฤษา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒาเชิงพื้นที่กับแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จะต้องมุ่งเน้นพัฒนาใน 3 ประการ ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน , การศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆในประเทศไทย เช่น ศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้ที่มีความคล้ายคลึงกับประชากรอาเซียน คือ พี่น้องชาวมุสลิมที่มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง และการคำนึงถึงความมั่นคงภายในประเทศของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ จะต้องดูศักยภาพในพื้นที่ควบคู่กับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐบาลด้วย


ผู้สื่อข่าว : สุธิดา พฤกษ์อุดม


หน่วยงาน : สวท.สงขลา


ที่มาของข่าว :

กศน.เมืองสุรินทร์ เปิดสอนภาษาจีน เขมร อังกฤษเพื่อการสื่อสาร พร้อมรับประชาคมอาเซียน

กศน.เมืองสุรินทร์ เปิดสอนภาษาจีน เขมร อังกฤษเพื่อการสื่อสาร พร้อมรับประชาคมอาเซียน:


ภาพประกอบ
นายสมโภชน์ กุลัตถ์นาม ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอเมืองสุรินทร์ เผยว่า ด้วย กศน.เมืองสุรินทร์ ได้เปิดรับสมัครผู้เรียนภาษาจีน ภาษาเขมร และภาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

โดยเป็นการเปิดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตร 40 ชั่วโมง ทั้ง 3 หลักสูตร ภาษาจีน เปิดเรียนระหว่างวันที่ 2 - 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ในวันเสาร์และอาทิตย์) เวลา 09.00 - 15.00 น. ภาษาเขมร เปิดเรียนระหว่างวันที่ 2 - 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ในวันจันทร์ – วันศุกร์) เวลา 09.00 - 12.00 น. และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เปิดเรียนในระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2556 (ในวันเสาร์และอาทิตย์) เวลา 09.00 - 15.00 น. เปิดรับสมัครที่ กศน.เมืองสุรินทร์ ถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามโทร. 044-520667


ผู้สื่อข่าว : กำชัย วันสุข


หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์


ที่มาของข่าว : กศน.สุรินทร์

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

การทูตทหารอาเซียน กลไกสูงสุดด้านความมั่นคง: ADMM Asean Defence Minister’s Meeting

การทูตทหารอาเซียน กลไกสูงสุดด้านความมั่นคง: ADMM Asean Defence Minister’s Meeting:
บทความก่อนหน้านี้ เราได้ฉายภาพให้เห็นถึงประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ ASEAN Political-Security Community โดยเรียกย่อๆ ว่า APSC ไปแล้ว ซึ่งช่วยสะท้อนว่า หลักการสำคัญในการให้ความร่วมมือด้านนี้เป็นอย่างไร ครั้งนี้เรามาดูกันบ้างว่า กลไกสูงสุดที่อาจเรียกได้ว่า เป็นการทูตทหารในอาเซียนนี้ มี Platform ที่เป็นทั้งความร่วมมือเชิงนโยบาย และภารกิจสำคัญอย่างไรบ้าง
ข้อมูลโดยมากที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียน มักเป็นประเด็นของพัฒนาการอาเซียนในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจกันในระดับประชาชนและสังคมในวงกว้าง อาจเรียกได้ว่า มีพื้นที่ในการสื่อความหมาย สร้างความรู้ในมิติเศรษฐกิจและมิติสังคม-วัฒนธรรมมากกว่าด้านความมั่นคงเสียอีก
อันเนื่องมาจาก ในความร่วมมือด้านความมั่นคงนั้น มักจะมีแต่ศัพท์เทคนิคและเรื่องการทหารที่แสดงเนื้อหาเป็นภาพความร่วมมืออันเป็นกลไกซับซ้อนและเข้าใจยาก แต่ในเมื่อเราต้องเรียนรู้และเข้าไปอยู่ร่วมกันเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า เราก็จำเป็นต้องเรียนรู้ให้ครบทั้ง 3 เสา
อย่างน้อยการทำความเข้าใจโครงสร้างก่อน จะปูพื้นให้เราเข้าใจในเนื้อหาที่กลไกนั้นๆ ต้องการสื่อให้เห็นความหมายที่เป็นเนื้อแท้ได้ไม่ยากนัก และยังช่วยสะท้อนสถานการณ์ของอาเซียนและสังคมโลกในแต่ละช่วงได้อย่างดีว่า เราต้องเผชิญอุปสรรคปัญหาหรือได้รับโอกาสใดจากความร่วมมือนั้นๆ จึงทำให้นำไปสู่การผลักดันกลไกใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง
ในการร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนนั้น ระบุว่า กลไกสูงสุดคือการประชุมระดับรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (Asean Defence Minister’s Meeting) หรือเรียกย่อๆ ว่า ADMM
Photo from ADMM Vietnam 2010
Photo from ADMM Vietnam 2010

ที่มาของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM)

สำนักงานเลขาธิการอาเซียน โดยกลุ่มงานความร่วมมือด้านความมั่นคง ว่าด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสพิเศษแห่งอาเซียน (Working Group Cooperation of the ASEAN Special Senior Officials’ Meeting: Special SOM) ได้จัดประชุมขึ้น ณ เมืองยอกยาการ์ตา อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 ได้ร่างแนวคิดในการจัดตั้งเวทีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เพื่อให้กลุ่มงานฯ ดังกล่าว ร่วมพิจารณาหากต้องการจะจัดตั้งความร่วมมือนี้ขึ้น
ทุกฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) ตามปฏิญญาบาหลี 2 (Declaration of ASEAN Concord II) ที่มีมาตั้งแต่ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2003
นำไปสู่การรับรองแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC Plan of Action) ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้น ณ เวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 จึงทำให้อาเซียนมีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนเป็นประจำทุกปี

เป้าหมายของการจัดประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM)

  • เพื่อสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและเสรีภาพในภูมิภาค โดยผ่านการหารือกับประเทศคู่เจรจา และความร่วมมือในด้านความมั่นคงและการป้องกัน
  • เพื่อนำไปสู่การหารืออย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายการทหารให้มีความร่วมมือในด้านการป้องกันและความมั่นคงภายในอาเซียน รวมทั้งกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนมากขึ้นด้วย
  • เพื่อสนับสนุนให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและสร้างความเชื่อมั่นร่วมกัน ผ่านการทำความเข้าใจจากความท้าทายที่จะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการป้องกันและความมั่นคง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น
  • เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามปฏิญญาบาหลี 2 (Bali Concord II) และสนับสนุนให้ทำตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme: VAP; on ASC)

วาระสำคัญ

ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ระบุไว้ว่าจะต้องเน้นความยืดหยุ่น โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องดังนี้
  • เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองต่อประเด็นด้านการป้องกันและความมั่นคง ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
  • เพื่อนำไปสู่นโยบายด้านการป้องกันและความมั่นคงโดยสมัครใจ
  • เพื่อหารือเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกกระบวนการอาเซียน
  • เพื่อหารือถึงการปฏิสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาภายนอก และ
  • เพื่อทบทวนความร่วมมือด้านความมั่นคงในอาเซียน
ADMM Vietnam 2010
ADMM Vietnam 2010

Asean Defence Minister’s Meeting: ADMM (การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน)

เป้าหมายสำคัญของ ADMM เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจร่วมกัน ด้วยการทำความเข้าใจความท้าทายด้านความมั่นคง ซึ่งเปิดกว้างให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ความร่วมมือ ADMM ดังกล่าว นำไปสู่โครงการที่ทำงานร่วมกันในระยะสั้น 3 ปี ขณะนี้ออกมาแล้ว 2 ฉบับ
(1) Three-Year ADMM Work Programme 2008-2010 ให้การรับรองใน ค.ศ. 2007 อันเป็นผลมาจากการจัดประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนครั้งที่ 2 โดยมีมาตรการและกิจกรรมที่ร่วมมือกันอยู่ 5 ประการดังนี้
  • เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการป้องกันร่วมกันในภูมิภาค
  • เพื่อสรรค์สร้างและมีบรรทัดฐานร่วมกัน
  • เพื่อป้องกันความขัดแย้ง
  • เพื่อแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติวิธี
  • เพื่อสร้างสันติภาพภายหลังเกิดความขัดแย้ง
หลังจากโครงการที่ร่วมมือกันในวาระแรกที่จัดขึ้น ระหว่าง ค.ศ. 2008 – ค.ศ. 2010 ผ่านไป การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ครั้งที่ 5 ได้ให้การรับรองโครงการ ADMM วาระ 2 ออกมา คือช่วงระหว่าง ค.ศ. 2011- 2013 หรือ
(2) Three-Year ADMM Work Programme 2011 – 2013 ซึ่งมีมาตรการที่เป็นเป้าหมายสำคัญอยู่ 4 ประการ ดังนี้
  • เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกันในภูมิภาคที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
  • เพื่อขยายความร่วมมือในทางปฏิบัติที่มีอยู่ รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกัน
  • เพื่อสนับสนุนการขยายความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจา
  • เพื่อเสริมสร้างและมีบรรทัดฐานร่วมกัน
ความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ ค.ศ. 2006 โดยเฉพาะความร่วมมือในประเด็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการด้านภัยพิบัตินั้น มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญต่อความร่วมมือ ภายใต้กรอบ ADMM
โดยที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ได้รับรองแนวคิดหลายประการที่สำคัญ ดังนี้
  • แนวคิดว่าด้วยการใช้ทรัพยากรและศักยภาพด้านการทหารของอาเซียน ในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและภัยพิบัติ เรียกสั้นๆ ว่า HADR (Concept Paper on the Use of ASEAN Military Assets and Capacities in Humanitarian Assistance and Disaster Relief: HADR)
  • แนวคิดว่าด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างกลาโหมอาเซียนกับองค์กรภาคประชาสังคมในด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ หรือเรียกว่า CSOs (Concept Paper on Defence Establishments and Civil Society Organisations (CSOs) Cooperation on Non-Traditional Security)
APSC Blueprint Asean Political-Security Community ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน
APSC Blueprint Asean Political-Security Community ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน
ความร่วมมือ ADMM นี้ นำไปสู่การทำงานในระดับสูงสุดตามกรอบ HADR ภายใต้การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 ของการสร้างความร่วมมือ CSOs ซึ่งมีไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมใน ค.ศ. 2011 และได้พยายามสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกันในภูมิภาค
การผลักดันดังกล่าว นำไปสู่การรับรองแนวคิดในการขยายความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
  • แนวคิดว่าด้วยการสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศแห่งอาเซียน หรือ ADIC (Concept Paper on the Establishment of ASEAN Defence Industry Collaboration: ADIC) และ
  • แนวคิดว่าด้วยการตั้งโครงข่ายศูนย์ปฏิบัติการเพื่อรักษาสันติภาพแห่งอาเซียน (Concept Paper on the Establishment of ASEAN Peacekeeping Centres Network)
ความร่วมมือภายใต้กรอบ ADMM นี้ ยังได้แลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกันในประเด็นของความท้าทายด้านความมั่นคงแบบใหม่ เพื่อให้มีความร่วมมือในทางปฏิบัติที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างเสถียรภาพและสันติภาพแก่ภูมิภาค แต่กลไกสูงสุดด้านการเมืองความมั่นคงแห่งอาเซียนอย่าง ADMM ยังไม่จบเพียงเท่านี้
ADMM หรือ Asean Defence Minister’s Meeting ยังแตกยอดสาขาความร่วมมือไปยังกรอบ ADMM-Plus เพิ่มเติมอีก บทความหน้าเราจะไขปริศนาที่ว่า ADMM-Plus ต่างกับ ADMM อย่างไร ? แล้วทำไมจึงต้องมีความร่วมมือนี้เกิดขึ้น ?

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ตามไปดูครูคณิตศาสตร์ พัฒนาบทบาทสู่อาเซียนในงาน วทร.21

ตามไปดูครูคณิตศาสตร์ พัฒนาบทบาทสู่อาเซียนในงาน วทร.21:


ภาพประกอบ
จากกระแสการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในปี 2558 ส่งผลให้หลายประเทศในอาเซียน ทั้งไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ต่างเร่งเตรียมความพร้อมโดยการสร้างกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน ได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาที่ต่างตื่นตัวและเร่งผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงได้ร่วมกับสมาคมครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวคท.) จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 21 (วทร.21) ภายใต้แนวคิด “มิติใหม่แห่งการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี” ในระหว่างวันที่ 17-20 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
โดยครูเพ็ญศรี พุทธไพบูลย์ ครูคณิตศาสตร์ ม.3 จากโรงเรียนบางแพปฐมพิทยา จังหวัดราชบุรี หนึ่งในคณะครูผู้คิดค้นผลงาน “บทบาทครูคณิตศาสตร์สู่อาเซียน” เล่าให้ฟังว่า จากการที่ได้เข้าร่วมเป็นครูพี่เลี้ยงวิชาการที่ยั่งยืนของ สสวท. ทำให้เล็งเห็นความสำคัญของบทบาทครูคณิตศาสตร์ในอนาคต จึงได้ร่วมกันผลักดันให้ครูผู้สอนเครือข่ายคณิตศาสตร์ จ.ราชบุรี ได้พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเข้าสู่อาเซียน โดยเริ่มจากการฝึกให้ครูคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษในโจทย์คณิตศาสตร์ สร้างสื่อเกมตรีโดมิโน และเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในอาซียนในเชิงคณิตศาตร์ เพื่อให้ครูนำประสบการณ์ดังกล่าวไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมสู่อาเซียนอย่างเหมาะสม “จากการที่นำสื่อเกมตรีโดมิโนไปใช้ในการเรียนสำหรับเด็กๆ ชั้น ม.1-3 ที่ผ่านมา พบว่าเด็กๆ มีความสุขกับการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถสร้างสรรค์สูตรทางคณิตศาสตร์ออกมาเป็นผลงานได้อย่างถูกต้อง”
ด้านครูดวงพร ปัญติภาณุวัฒน์ ครูคณิตศาสตร์ระดับอนุบาล จากโรงเรียนอนุบาลราชบุรี เล่าต่อว่า สำหรับเด็กอนุบาลนั้น จะต้องเน้นที่เกมเป็นหลัก เพราะถ้าเด็กรู้สึกสนุก เด็กก็จะเกิดความสนใจ แล้วยิ่งถ้าให้เด็กได้คิดเอง ทำเอง เด็กก็จะเกิดความชอบมากขึ้น โดยเราอาจจะเริ่มจากการให้เด็กเรียนได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก (plus) การลบ (minus) การคูณ (multiplied by) การหาร (divided by) เป็นต้น
ส่วนครูราตรี พันธ์พืช ครูคณิตศาสตร์ ม.1-3 โรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน บอกกับเราว่า โรงเรียนบ้านทุ่งกระถินนี้เป็นโรงเรียนขยายโอกาส ดังนั้นเด็กๆ จึงมีความหลากหลายมาก อีกทั้งโอกาสในการเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปยังมีน้อยมาก ซึ่งครูก็พยายามที่จะผลักดันให้เด็กๆ ที่มีศักยภาพ สามารถเดินต่อไปในระดับที่สูงกว่านี้ ซึ่งหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่นำไปใช้ ก็คือ การให้เด็กๆ ได้สร้างสรรค์ผลงานทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษก่อน จากนั้นจึงต่อยอดเป็นภาษาอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งเด็กๆ จะได้เรียนรู้ภาษาอย่างน้อย 2 ภาษาขึ้นไป
แม้ว่าการนำเสนอผลงาน “บทบาทครูคณิตศาสตร์สู่อาเซียน” ของคณะครูผู้สอนเครือข่ายคณิตศาสตร์ จังหวัดราชบุรี ในงาน วทร.21 จะเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว แต่หากว่าการต่อยอดและพัฒนายังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การพัฒนาบทบาทครูคณิตศาสตร์ให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้น คงไม่เพียงพอแต่ยังต้องพัฒนาครูในทุกๆ รายวิชา ให้มีศักยภาพพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสอาเซียนได้อย่างมั่นใจ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกภาคส่วนในสังคม จะต้องผสานความร่วมมือกันในการขับเคลื่อนวงการศึกษาไทยให้ก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


ส่วนสื่อสารองค์กร สสวท.



ผู้สื่อข่าว : อุทัยวรรณ ยอดสนิท


หน่วยงาน : สำนักข่าว


ที่มาของข่าว :

อธิการดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คนใหม่ เตรียมสานต่องานด้านการเรียนรู้ พัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน อย่างภาคภูมิ

อธิการดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คนใหม่ เตรียมสานต่องานด้านการเรียนรู้ พัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน อย่างภาคภูมิ:


ภาพประกอบ
เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ ( 23 ม.ค 56) ที่ห้องประชุมศรีวรรณเกียรติสุรนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีการจัดพิธีมอบงาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดย ผศ.กนก โตสุรัตน์ ผู้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งดำรงครบวาระ ได้มอบหมายงานให้ ผศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยานุกร เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คนปัจจุบัน โดยมีคณะกรรมการมหาวิทยาลัย ราชภัฏศรีสะเกษ และ คณะอาจารย์ ร่วมแสดงความยินดี


โดย ผศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยานุกร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า จากนี้ไปตนจะสานต่องาน ของ ผศ. กนก โตสุรัตน์ อดีตอธิการบดี ในด้านต่างๆ ให้สมความภาคภูมิ โดยในเน้นศักยภาพในด้านการศึกษา และการเรียนรู้ต่างๆ รวมไปถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมนุม และ มหาวิทยาลัย ซึ่งในที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ในปี 2558 ประเทศไทย จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นอีกจั
งหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ติดตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จึงต้องมีบทบาท หน้าที่ ในการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนให้ความสำคัญ และดำเนินการต่อไป


จิรภัทร หมายสุข / ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ


ผู้สื่อข่าว : จิรภัทร หมายสุข


หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ


ที่มาของข่าว :

ททท.นำคณะสื่อมวลชน ร่วมงาน Asean Tourism : Forum ATF 2013 ที่นครเวียงจันทน์

ททท.นำคณะสื่อมวลชน ร่วมงาน Asean Tourism : Forum ATF 2013 ที่นครเวียงจันทน์:



การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชน ไปร่วมงานงาน Asean Tourism : Forum ATF 2013 ที่นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 17 – 24 มกราคมนี้ บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชนไปร่วมงานงาน Asean Tourism : Forum ATF 2013 ซึ่งจัดขึ้นที่นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 17 – 24 มกราคม 2556 บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยงานจัดขึ้นเป็นปีที่ 32 แล้ว ซึ่งมีกิจกรรมหลักแบ่งเป็นสองส่วน คือ การประชุมตามกรอบความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน และกิจกรรมส่งเสริมการขายด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจากประเทศไทยเข้าร่วมงานมากที่สุด ถึง 117 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 27.9 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจโรงแรมกว่า 107 ราย บริษัทนำเที่ยว 9 ราย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีก 1 ราย ส่วน Buyers มีจำนวนทั้งสิ้น 442 ราย จากทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลก

ด้านธุรกิจทัวร์ เจ้าหน้าที่ของบริษัท middleway travel Agent & Tour Operator เปิดเผยว่า บริษัทเปิดมาแล้วกว่า 8 ปี ส่วนใหญ่ได้ลูกค้าชาวยุโรป และเป็นลูกค้าเก่ากว่าร้อยละ 50 ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยเฉพาะทะเล วัฒนธรรมของคนไทย คือ รอยยิ้มซึ่งเป็นเอกลักษ์ของคนไทย และการมีน้ำใจ รวมถึงบริการที่ดี

ส่วนการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ยอมรับมีความกังวล เพราะส่วนใหญ่ผู้ประกอบการธุรกิจทัวร์ขนาดใหญ่ที่คนไทยเป็นเจ้าของค่อนข้างมีน้อย ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม อาจจะต้องเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น และตื่นตัวมากกว่านี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างจุดขายใหม่ ๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะธุรกิจ ร้านอาหารไทย สปา นวด เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีธุรกิจด้านสายการบิน ธุรกิจโรงแรม บริษัททัวร์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก มาออกบูธ เพื่อบริการและแนะนำให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวอีกจำนวนมาก


ผู้สื่อข่าว : วิลาวัลย์ ปะมา / สวท.


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อบรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์สู่อาเซียน

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อบรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์สู่อาเซียน:


ภาพประกอบ
คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดอบรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แก่อาจารย์ บุคลากรและนิสิต เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558


วันนี้ (23 ม.ค.56) ที่ ห้องฉายภาพยนตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดอบรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แก่อาจารย์ บุคลากรและนิสิต ขึ้นตาม "โครงการอบรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์สู่อาเซียน" โดยมี รองศาสตราจารย์วิรัตน์ พงษ์ศิริ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นิสิตจิตอาสา จำนวน 7 คน ที่อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเพื่อนนิสิต โดยมีการบรรยายในหัวข้อ “แผนแม่บทเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยและการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปัจจุบันกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” โดย คุณอัจฉราพร หมุดระเด่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและการส่งเสริม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) และหัวข้อ “บทบาทความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรของประเทศด้านไอที” โดยคุณปริญญา สุวรรณชินกุล ผู้จัดการส่วนส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ สำนักนโยบายและการส่งเสริม และมีอาจารย์ บุคลากร และนิสิต ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมกว่า 200 คน


สำหรับโครงการอบรม "ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์สู่อาเซียน" จัดขึ้นเพื่อให้ อาจารย์ บุคลากร และนิสิต ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ เกิดความเข้าใจในด้านการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปัจจุบัน เป็นการเตรียมความพร้อมแผนแม่บทก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรของประเทศ พร้อมนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน และส่งผลต่อทิศทางการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งศูนย์บริการวิชาการ คณะวิทยาการสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการวิชาการและความรู้แก่สังคมมาโดยตลอด เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอีก 2 ปี ข้างหน้ากับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การจัดให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อนิสิตภายในคณะฯ


ผู้สื่อข่าว : สิงหา โพธิแท่น


หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม


ที่มาของข่าว :

SMEs มุกดาหาร เปิดแนวรุกบุกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

SMEs มุกดาหาร เปิดแนวรุกบุกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน:



ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ร่วมกับจังหวัดมุกดาหาร จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "SMEs สกลนคร เปิดแนวรุกบุกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)" ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารเป็นประธานเปิดการสัมมนา โดยมีนายประชา มีธรรม อุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร ,นายเธียรวิชท์ บุญกมลศรีศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ,ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 100 คน ที่โรงแรมพลอยพาเลซ จังหวัดมุกดาหาร
นายเธียรวิชท์ บุญกมลศรีศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 กล่าวว่า นับเป็นโอกาสและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จะต้องดำเนินธุรกิจภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงขึ้น ตามกติกาของประชาชาติในอาเซียน ที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการนำภูมิภาคไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (SINGLE? MARKET AND PRODUCTION? BASE ) จำเป็นที่ผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) ของไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อยกระดับขีดความสามารถ ตลอดจนเสริมสร้างทักษะให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่เดิม และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งจะต้องมีความรู้ในการดำเนินธุรกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ


พิพัฒน์ เพชรสังหาร ส.ปชส.มุกดาหาร/ข่าว

ผู้สื่อข่าว : สุภาวดี อัมไพพันธ์


หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร


ที่มาของข่าว :