ผู้ร่วมการประชุมเวิล์ด อีโคโนมิค ฟอรัม (World Economic Forum) ระบุในการอภิปรายในช่วงเปิดงานว่าความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องในเอเชีย คือ การกีดกันทางการค้า
- มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตภายในประเทศและการรวมตัวอย่างแน่นแฟ้นในภูมิภาค
- การควบคุมการทุจริตและความไม่เท่าเทียมกันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ได้รับการสนับสนุนในการรวมตัวของภูมิภาค
“แม้ว่าภูมิภาคเอเชียจะมีการขยายตัวที่ดีกว่าภูมิภาคอื่นของโลก แต่ยังขาดภูมิต้านทานที่ดี จึงทำให้ได้รับผล กระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมทั้งเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง ความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดคือการกีดกันทางการค้า ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สาคัญและกำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น” นายปาสกาล ลามี กล่าวเสริมภูมิภาคอาเซียนมีขนาดใหญ่โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งภูมิภาครวมกันมูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ รวมทั้งยังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และการปันผลทางประชากร (demographic dividend) ในระดับสูง ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคอาเซียนจึงมีความพร้อมที่จะเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของโลกได้ อย่างไรก็ดี การเติบโตของภูมิภาคขึ้นอยู่กับความสามารถในการรวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้นของอาเซียน
“การรวมตัวของภูมิภาคอาเซียนถือเป็นการดำเนินการหลักที่มีพัฒนาการตลอดหลายปีที่ผ่านมา และถือได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของภูมิภาค ยิ่งการรวมตัวแน่นหนาขึ้นเท่าไร ภูมิภาคอาเซียนมีความแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น และสามารถฟื้นตัวได้เร็วเมื่อได้รับผลกระทบใดๆ” นายปาสกาล ลามีกล่าวจากเป้าหมายที่จะมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความเห็นว่ามีความมั่นใจว่าทั่วภูมิภาคนี้จะมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ และย้ำว่าจำเป็นที่ประเทศต่างๆ จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานต่อความเสี่ยงหรือความผันผวนที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกภูมิภาค
“การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พึ่งพาการส่งออกมานาน จนลืมไปว่าเศรษฐกิจในอีกหลายด้านจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ทุกวันนี้ สิ่งที่สาคัญที่สุดคือ การสร้างความสมดุล และนี่คือหน้าที่ที่เราจะต้องช่วยเหลือตัวเอง เพื่อที่เราจะสามารถช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ต่อไป” นายกิตติรัตน์กล่าวอย่างไรก็ดี นายกิตติรัตน์ให้ความเห็นว่า ในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย พร้อมกับการเปิดรับและส่งเสริมการรวมตัวของภูมิภาคอย่างแน่นแฟ้น อาจถือเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่น หรือเทียบกับภูมิภาค รวมทั้งตลาดที่ไม่ประสบความสาเร็จ เช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยนายกิตติรัตน์เรียกร้องให้มีการปรับลดค่าขนส่งภายในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการค้าและการเชื่อมโยงในระบบลอจิสติกส์ที่ดี
ส่วนนายจิตา วีร์จาวัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า ประเทศอินโดนีเซีย ตระหนักว่าระบบลอจิสติกส์เป็นความท้าทายสำคัญของประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะ และยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในอาเซียนจะได้ประโยชน์จากการรวมตัวกันและจากปัจจัยภายนอก อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่าภูมิภาคนี้อาจหันกลับมาใช้นโยบายกีดกันทางการค้าในยามที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
เมื่อพิจารณาถึงตลาดภายนอกที่มีความผันผวนมากขึ้น แม้ว่าการรวมตัวทางการค้าจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเติบโตของภูมิภาค แต่ก็เป็นจุดอ่อนได้เช่นกัน ศาสตราจารย์เอสวาร์ ปราสาด แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่จะส่งเสริมการความร่วมมือในการรวมตัวทั่วภูมิภาค คือ การกำจัด “พิษ” ที่เกิดจากการทุจริตและความไม่เท่าเทียมกัน
“อาเซียนจำเป็นจะต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ว่าชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะได้รับโอกาสจากการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจนี้ เพราะความไม่เท่าเทียมกันและการทุจริตจะกัดกร่อนความร่วมมือและการสนับสนุนต่อการปฏิรูปในอนาคต” ศาสตราจารย์เอสวาร์ ปราสาด กล่าวการเพิ่มศักยภาพให้แก่ประชากรในอาเซียนโดยการเพิ่มกำลังซื้อและการเพิ่มผลิตภาพ ตลอดจนการพัฒนาเพื่อก้าวขึ้นสู่ห่วงโซ่แห่งคุณค่าในระดับที่สูงขึ้น นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการกระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ทั่วถึง
บทเรียนสาคัญที่อาเซียนเรียนรู้จากตัวอย่างในประเทศตะวันตกคือควรหลีกเลี่ยงการใช้สกุลเงินเดียวกัน และควรดำเนินการโดยมีการตัดสินใจที่เด็ดขาด
จากการที่เอเชียประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้วเมื่อกว่า 10 ปีก่อน นายวีร์จาวันกล่าวว่าภูมิภาคอาเซียนจะต้องมีความอดทนและต้องมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะรวมอาเซียน ให้เป็นภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ซึ่งมีความหลากหลายด้านความมั่งคั่งและระดับของการพัฒนา
“เรากาลังจะก้าวไปสู่การเชื่อมโยงทั่วภูมิภาค แม้ว่าจะเป็นเป้าหมายที่ไม่ยิ่งใหญ่มากอย่างที่เราอยากให้เป็น แต่เราจะต้องไปให้ถึงเป้าหมายนี้ให้ได้ เราทราบชัดเจนแล้วว่าปัญหาคืออะไร และตระหนักว่าปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้ในชั่วข้ามคืน แต่เรากำลังแก้ไขปัญหาเหล่านี้อยู่”นายวีร์จาวันกล่าวประธานร่วมของเวิลด์อีโคโนมิคฟอรัมว่าด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานคณะกรรมการ บมจ .ปตท. นางเฮเลน เกล ประธานและซีอีโอ องค์กรแคร์ (CARE USA) นายเจอรัลด์ ลอว์เลส ประธาน จูเมราห์กรุ๊ป ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นายเมสทราเยต์ เจอราร์ด ประธานและซีอีโอบริษัท GDF SUEZ ประเทศฝรั่งเศส นายมาลวินเดอร์ เอ็ม ซิงห์ ประธานกลุ่มฟอร์ทิสเฮลท์แคร์ ประเทศอินเดีย และนายมาซามิ ยามาโมโต ประธานและกรรมการ ฟูจิตสึ ประเทศญี่ปุ่น
ในงานดังกล่าว อสมท. จะเป็นแม่ข่ายถ่ายทอดสดการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ว่าด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2012
World Economic Forum, weforum
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น