องค์กรการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เป็นอีกหนึ่งองค์กรหนึ่งที่เข้ามาศึกษาโครงสร้างของระบบลอจิสติกส์ในประเทศไทย (ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าของโรงงานญี่ปุ่นในไทย) อย่างละเอียดมาโดยตลอด
SIU เห็นว่าผลการศึกษาของ JETRO มีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ในประเทศไทย ที่กำลังจะเชื่อมโยงเป็นระบบลอจิสติกส์ของอาเซียนมาก จึงขอสรุปเนื้อหาบางส่วนของ JETRO เพื่อเผยแพร่ต่อผู้สนใจอีกทอดหนึ่ง
เส้นทางยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ของอาเซียน
JETRO สนใจศึกษาเส้นทางลอจิสติกส์ภายในอาเซียนระดับยุทธศาสตร์จำนวน 7 เส้นทาง โดยทั้ง 7 เส้นทางมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทยทั้งสิ้น ซึ่งมองได้ว่าที่ตั้งของประเทศไทยในเชิงภูมิรัฐศาสตร์เป็นแกนกลางของอาเซียน และเมื่อเชื่อมโยงกับฐานที่มั่นของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย ระบบลอจิสติกส์ในไทยจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อ JETROเส้นทางยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์อาเซียน ภาพจาก JETRO
- กรุงเทพ-กัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์
- กรุงเทพ ผ่านภาคกลางของประเทศลาว ขึ้นไปยังฮานอย (ตามแนว East West Economic Corridor)
- โฮจิมินห์ซิตี้ ผ่านแกนกลางประเทศเวียดนามขึ้นไปที่ฮานอย และต่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (กว่างโจวและฮ่องกง)
- กรุงเทพ-ย่างกุ้ง (ตามแนว East West Economic Corridor)
- กรุงเทพ-พนมเปญ-โฮจิมินห์ซิตี้
- สิงคโปร์-จาการ์ตา (เส้นทางทะเลหรืออากาศ)
- กรุงเทพ-มะนิลา (เส้นทางทะเลหรืออากาศ)
ต้นทุนลอจิสติกส์อาเซียน
เส้นทางหลักที่ JETRO ศึกษาต้นทุนลอจิสติกส์อย่างละเอียดคือ- ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์-อินโดนีเซีย (เส้นทางที่ 1 + 6)
- ไทย-ลาว-เวียดนาม-จีนตอนใต้ (เส้นทางที่ 2)
- อาเซียนไปยังอินเดีย (เส้นทางที่ 4 บางส่วน)
ตัวอย่างผลการศึกษาของ JETRO เพื่อประเมินวิธีการขนส่งที่คุ้มค่าที่สุดจากกรุงเทพไปยังฮานอย
วิธีการขนส่งที่ใช้เวลาน้อยที่สุด จากกรุงเทพไปยังฮานอย
- ทางอากาศ (29 ชั่วโมง)
- ทางถนน (74 ชั่วโมง)
- ทางเรือ (213 ชั่วโมว)
- ทางเรือ (2,910 ดอลลาร์)
- ทางถนน (5,500 ดอลลาร์)
- ทางอากาศ (69,910 ดอลลาร์)
- การขนส่งจากกรุงเทพไปยังฮานอยมีสินค้า แต่จากฮานอยกลับมายังกรุงเทพมักเป็นรถเปล่า เพราะปริมาณการค้าสองฝั่งไม่ได้สัดส่วนเท่ากัน ทำให้ต้นทุนของการตีรถเปล่ากลับถูกรวมอยู่ในค่าขนส่งทั้งหมดด้วย
- ระยะเวลาการทำงานของด่านศุลกากรในประเทศต่างๆ เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าแบบด่วน
- ข้อตกลงการค้าชายแดนยังมีปัญหาและยุ่งยาก
- คุณภาพของถนนจากกรุงเทพไปยังฮานอย ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะถนนในประเทศลาวที่ไม่มีไฟส่องทาง หรือจำกัดน้ำหนักของรถที่ข้ามสะพาน
- ปัญหาการจราจรในจุดสำคัญบางจุด เช่น ด่านตรวจระหว่างประเทศ หรือจุดที่มีการซ่อมถนน เป็นต้น
ส่วนมิติของต้นทุนการขนส่ง ถ้าจัดระบบลอจิสติกส์ให้รถสินค้าบรรจุสินค้าส่งทั้งเที่ยวไปและกลับ และมีอัตราการโหลดที่ 100% ทั้งสองเที่ยว จะสามารถลดระดับของการขนส่งมาอยู่ที่ 2,750 ดอลลาร์ต่อ 30 ตัน ซึ่งแข่งขันเรื่องต้นทุนกับการขนส่งทางเรือได้
ข้อเสนอการปรับปรุงลอจิสติกส์อาเซียน
JETRO เสนอมาตรการปรับปรุงระบบลอจิสติกส์ดังนี้- จัดระบบการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มอัตราการโหลดสินค้าต่อเที่ยว
- ใช้มาตรการขับขี่แบบประหยัดพลังงาน (eco-driving) เพื่อลดต้นทุนเชื้อเพลิง
- สร้างศูนย์กระจายสินค้าที่จุดข้ามแดน
- เปิดบริการศุลกากรตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อลดต้นทุนเวลา
- ทำระบบ single stop service ที่จุดข้ามแดน
- ปรับปรุงไฟถนนเพื่อให้ขนส่งสินค้าตอนกลางคืนได้
- ปรับปรุงเรื่องแพกเกจของสินค้า และวิธีดูแลสินค้าระหว่างการขนส่ง
- พัฒนาบุคคลากรด้านการขนส่ง (human resource development) เช่น ทักษะการขับขี่ หรือทักษะด้านงานเอกสาร
สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอของ JETRO เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ JETRO (PDF) และดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก JETRO’s Logistics Project
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น