วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก: มาเลเซีย อินโดนีเซีย

ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก: มาเลเซีย อินโดนีเซีย:
จากงานเสวนาทางวิชาการ “ประชาคมอาเซียน 2015: ภาพในมายาคติกับความเป็นจริง” จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit (SIU) เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 ณ อาคารพินิตประชานาถ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วงอภิปรายว่าด้วยเรื่อง “ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก” มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเผยเรื่องราวปัญหาของแต่ละประเทศที่น่าสนใจยิ่งดังนี้

ภาพจาก abror/presidensby.info

มาเลเซีย: รองศาสตราจารย์ ดร. จรัญ มะลูลีม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มาเลเซียเป็นประเทศหนึ่ง ที่พยายามให้คนหลากหลายอยู่ด้วยกันภายใต้พหุสังคม แต่ก็ไม่ได้ราบรื่นไปเสียทุกอย่าง พยายามผลักดันเป็นผู้นำโลกมุสลิม ศาสนาและการพัฒนาค่อนข้างไปด้วยกันได้ดี ผู้นำศาสนาของอียิปต์เคยตอบคำถามผมที่ว่า “มาเลเซียจะเป็นผู้นำโลกมุสลิมได้หรือไม่?” เขาตอบว่า “ตอนนี้มาเลเซียก็เป็นอยู่แล้ว”
มาเลเซียอยู่ระหว่างโลกอิสลามและตั้งอยู่ในประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนติดตามอย่างใกล้ชิด รัฐบาลเองก็ดูลู่ทางว่าในช่วงไหนที่ได้เสียงมากกว่า บาดแผลจากปี 2008 คือพรรคอัมโนที่มีทั้งจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และปัญหาที่มาเลเซียกำลังเผชิญ คือรัฐบาลของนายนาจิบ อับดุล ราซัค หวาดหวั่นว่าเสียงอาจไม่ถึง 2 ใน 3 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการออกกฎหมายและการขับเคลื่อนต่างๆ เสียงแตกมากในด้านความคิด เช่น ชาวจีน ที่เห็นได้อย่างชัดเจน
บรรดาพรรคฝ่ายค้านรวมตัวกันได้ดี มีการรวมความเป็นมาเลเซีย โดยเป็นความเท่าเทียมระหว่างเชื้อชาติมากยิ่งขึ้น อันวาร์ถือเป็น 1 ในกลุ่มแกนนำของพรรคฝ่ายค้านที่คาดหมายว่าน่าจะเป็นผู้นำคนถัดไป เมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม พรรครัฐบาลกลับได้เสียงมากกว่า
ปี 2008 รัฐบาลพยายามปรับโครงสร้างของพรรคมาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่อาจเรียกได้ว่ายอมรับความหลากหลาย เราจะเห็นได้ว่ามีบรรพบุรุษมาจากหลายที่ด้วยกัน
โครงสร้างของผู้นำน่าจะยอมรับความหลากหลายได้ มีการเน้นวิสัยทัศน์ที่เรียกว่า Vision 2020 รัฐบาลพยายามปรับโครงสร้างเพื่อรับมือกับฝ่ายค้านที่กำลังขึ้นมา ทั้งในเมืองและท้องถิ่น ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ขึ้นมา น่าจะมีผลสูสีกัน เชื้อชาตินั้น มาหาเธร์ไม่ได้อยู่ในอำนาจมานาน มองว่า การเมืองของมาเลเซียต่อไปจะเป็นเชื้อชาติของตนมากขึ้น ทั้งจีน มาเลย์ อินเดีย มหาเธร์กล่าวถึงการเลือกตั้งทีจะมาถึงว่า ประเด็นสำคัญที่จะเข้ามาตัดสิน 1 ในนั้นคือ ชาวจีน
มีการปฏิรูประบบราชการ เศรษฐกิจ และพูดถึงสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีการเน้น Islamization มากขึ้น มีความพยายามแก้ไขเขตเลือกต้ั้งต่างๆ มาเลเซียต้องการสร้างเศรษฐกิจที่มีรายได้สูง แต่เป็นธนาคารแบบ Islamic Bank เน้นอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลุลีม
การศึกษานั้น มีเด็กไทยไปเรียนมาเลเซียประมาณ 1,000 กว่าคน ผู้นำของมาเลเซียส่วนใหญ่ ก่อนขึ้นสู่แกนนำของพรรคมักผ่านการเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมาก่อน สำหรับโลกมุสลิมมีมหาวิทยาลัยนานาชาติเปิดโอกาสให้คนทุกเชื้อชาติเข้ามาเรียนได้ นอกจากนี้ รัฐบาลก็พยายามสร้างอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ มากขึ้น
การสร้างสะพานมิตรภาพระหว่างไทย มาเลเซีย ที่อำเภอแว้ง จ. นราธิวาส แต่ก่อนพรรครัฐบาลจะระแวงว่า คะแนนนิยมจะไปตกอยู่กับพรรค PAS  เพราะมักนิยมรวมทั้งคนไทย 2 สัญชาติด้วย การเลือกตั้งที่มีขึ้นในเวลานี้เป็นตัวตัดสินหลายอย่าง ได้มีความพยายามทำให้ชัดเจน โปร่งใส ขณะที่อันวาร์ อิบราฮิม ต้องเผชิญกับชะตากรรมหลายอย่าง เขาโดนข้อหาถึง 3 ครั้ง คือข้อหารักร่วมเพศ ซึ่งศาลตัดสินแล้ว ไม่มีความผิด ซึ่งก็ใช้กฎหมายอิสลามเข้ามาพิจารณาด้วย
จุดแข็งของรัฐบาลคือ พรรครัฐบาลยังมีอิทธิพลอยู่ องค์กรอิสระกำลังเข้ามาดำเนินการที่ทำให้โปร่งใสมากขึ้น โครงสร้างทางสังคมของมาเลเซีย มีทั้งจีนที่ประสบผลสำเร็จด้านเศรษฐกิจ มาเลเซียสำเร็จด้านการศึกษา อินเดียสำเร็จแบบกลางๆ อย่างละครึ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ประชาชนครึ่งหนึ่งเป็นมุสลิม
มาเลเซียต้อง balance ให้ได้ ระหว่างเชื้อชาติกับการให้สิทธิ ด้านเศรษฐกิจมีการพัฒนาในหลายด้าน การศึกษาก็ประสบผลสำเร็จ การเลือกตั้งก็ต้องดูกันต่อไปว่าฝ่ายค้านจะเข้ามามีบทบาทกับรัฐบาลที่มีความสำคัญมาอย่างยาวนานได้หรือไม่

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์

อินโดนีเซีย: รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์

เวลานี้อำนาจในการซื้อของอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ ถ้าไม่ไปเวียดนามก็ไปอินโดนีเซีย ถือเป็น pretty lady ที่เลือกได้ ไม่ต้องรอให้เขามาเลือก แต่สามารถเลือกเองได้ อินโดนีเซียซีเรียสและให้ความสำคัญกับอาเซียนค่อนข้างมาก อาเซียนนั้นถ้าเป็นองค์การอิสระจริง อาเซียนจะเป็นฐานสำคัญในการสร้างโอกาสและเป็นกลไกในการสร้างสันติภาพ เสรีภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคนี้
อินโดนีเซียมองไม่ใช่ใช่แค่อาเซียนเท่านั้น แต่มองไกลไปในเอเชียแปซิฟิก และมีการส่งเสริมการส่งออกและการค้าภายในประเทศของเขา ซึ่ง 70% ของการค้ามาจากการบริโภคภายในประเทศ ยังไม่ได้พึ่งพาอาเซียนมากนัก แต่ก็เห็นว่าอาเซียนสำคัญในการขยายตลาดของเขา มีบทบาทในอาเซียนเยอะ เช่น Bali concord อาเซียนก็ได้นำเสนอแนวคิดที่นี่ ขณะนี้กำลังร่าง ASEAN Peace Keeping Force กันอยู่
ส่วน ASEAN Connectivity นั้น กำลังสร้างความเชื่อมโยงกันอยู่ แต่อินโดนีเซียแอบเสนอคนเดียว ไม่ยอมเผยให้ชาติอื่น ก็โดนตีตกไป แต่ภายหลังก็ทำขึ้นมาได้ เพราะเป็นชาติที่ initiate ตั้งแต่แรก เหมือนสิงคโปร์ ซึ่งมีหรือไม่มีอาเซียนก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนัก
ในด้านเศรษฐกิจนั้น มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ ประเด็นสำคัญคือ สภาอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย เริ่มนโยบายที่เป็น Nationalist มาก แต่รัฐบาลยังไม่เห็นด้วย ยังไม่มีท่าทีแน่ชัดนัก บริษัทที่ผลิตเวชภัณฑ์ที่ไปลงทุนในอินโดนีเซียต้องมี Joint Venture กับคนท้องถิ่นระดับหนึ่ง ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถผลิตยาขายอินโดนีเซียได้
อังกฤษจะมาซื้อธนาคารอันดับ 6 ของอินโดนีเซียคือธนาคาร Danamon ซื้อด้วยเงิน 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมารัฐบาลก็ออกกฎหมายใหม่ เห็นว่า ไม่ได้แล้ว ต่อไปนี้ ทำให้การจัดซื้อควบรวมกิจการ Danamon หยุดชะงัก ไม่กล้าซื้อ และทำให้บริษัทอื่นๆ ที่จะมาซื้อก็ไม่กล้าเช่นกัน นอกจากนี้ มีปัญหาเรื่องการจำกัดสิทธิบางอย่าง รวมทั้งการบังคับให้คน local มาร่วมทุนด้วย ยังมีการเพิ่มการจัดเก็บภาษีส่งออกด้วย จาก 20% เป็น 30% เป็น 40% เป็น 50%
อินโดนีเซียเป็นห่วงสถานการณ์ Human Rights และเปิดโอกาสให้ประชุมได้ แม้ว่าจะประชุมในรัฐสภาก็ยังได้ เพราะเต็มอิ่มมานานมากตั้งแต่สมัยซูฮาร์โต ซึ่ง 4 ปีหลังจากนี้ (กล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2008) ก็หมายความว่าปีนี้ ก็มอวว่า Human Rights ต้องนำมาดูอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลอาจไม่เอาด้วยก็ได้ ที่รัฐสภาทำแต่รัฐสภาก็อาจมีการแบ่งแยกกันก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น