คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการแผนพัฒนากำลังคนในระดับประเทศ พ.ศ. 2555 – 2559 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังปรากฏในแผนพัฒนากำลังคนในระดับประเทศ พ.ศ. 2555 – 2559
ดำเนินการพัฒนากำลังคนตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ การพัฒนากำลังคนควรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ตลอดจนสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางภาวะเศรษฐกิจและสอดคล้อง กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อีกทั้ง ผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับตลาดอย่างแท้จริงด้วย
สาระสำคัญของแผนพัฒนากำลังคนในระดับประเทศ พ.ศ. 2555 – 2559 สรุปได้ดังนี้
- 1. วิสัยทัศน์ กำลังคนเพียงพอ มีศักยภาพได้มาตรฐานสากล มีคุณธรรมนำสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
- 2. พันธกิจ
- 2.1 ผลิตกำลังคนให้มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน
- 2.2 พัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพสูงได้มาตรฐานสากล
- 2.3 สร้างเสริมคุณธรรมให้แก่กำลังคนในทุกภาคส่วน
- 2.4 สร้างเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากำลังคนทุกภาคส่วน
- 2.5 ส่งเสริมให้กำลังคนมีความมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกันและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- 3. วัตถุประสงค์
- 3.1 มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานด้านกำลังคน
- 3.2 กำลังคนมีศักยภาพสูง ได้มาตรฐานสากล ตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วน และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้
- 3.3 กำลังคนมีความรับผิดชอบ และมีจิตสำนึกที่ดีต่อหน้าที่
- 3.4 มีการบูรณาการการพัฒนากำลังคนทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
- 3.5 กำลังคนมีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- 4. แนวทางการดำเนินงานของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ มีดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ | หน่วยงานรับผิดชอบหลัก | หน่วยงานรับผิดชอบรอง |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตและพัฒนาศักยภาพกำลังคนทุกระดับต่อเนื่องตลอดชีวิต | ||
กลยุทธ์ 1.1 ปรับปรุงหลักสูตรในระบบการศึกษาทุกระดับให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษารอบ 2 | กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) | กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) รง. |
กลยุทธ์ 1.2 สร้างแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมให้มีช่องทางการ ศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต | ศธ. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) | วท. รง. |
กลยุทธ์ 1.3 บูรณาการระบบการศึกษาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางด้านการศึกษาเพื่อเร่งส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ (เช่น ภาษาอังกฤษ จีน และภาษาเพื่อนบ้าน) | ศธ. | วท. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) |
กลยุทธ์ 1.4 ส่งเสริมการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน | ศธ. วท. สภาวิจัยแห่งชาติ | รง. |
กลยุทธ 1.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้ระบบเทคโนโลยีเสมือนจริงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการศึกษาและพัฒนาคน | ทก. | ศธ. วท. รง. |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานด้านกำลังคนทุกภาคส่วน | ||
กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงต่อความต้องการของตลาด เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา (Education Hub) ของอาเซียน | ศธ. รง. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) | วท. ทก. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย |
กลยุทธ์ 2.2 ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ Work Integrated Learning (WIL) มากขึ้นในทุกระดับ เพื่อพัฒนาทักษะในการทำงานจริง | ศธ รง. อก. | วท. ทก. สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ |
กลยุทธ์ 2.3 จัดเตรียมกำลังคนในบางสาขาที่ขาดแคลนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อรองรับการเป็นตลาดเดียวในอาเซียน | ศธ. รง. อก. | วท. ทก. สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ |
กลยุทธ์ 2.4 เพิ่มความพร้อมให้กับคนไทยในวัยแรงงานให้มีโอกาสเพิ่มเติมทักษะฝีมือแรงงานได้ตลอดเวลาโดยผ่านระบบ ICT | ศธ. รง. อก. ทก. | วท. สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพสูงและมีความสามารถในระดับสากล | ||
กลยุทธ์ 3.1 เตรียมความพร้อมกำลังคนเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดสินค้าและบริการอันเนื่องมาจากการรวมกลุ่มในภูมิภาคอาเซียน | รง. ศธ. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) | วท. สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ |
กลยุทธ์ 3.2 ส่งเสริมและพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพความรู้ความสามารถ ทักษะฝีมือและทักษะด้านภาษาเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตที่จะเข้ามาในประเทศไทย | รง. อก. พณ. | วท. สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ |
กลยุทธ์ 3.3 พัฒนาทักษะใหม่ ๆ (ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี) เพื่อสร้างโอกาสแก่แรงงานให้มีศักยภาพเท่าทันและใช้โอกาสจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน | รง. อก. พณ. วท. | สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างเสริมเครือข่ายในการพัฒนากำลังคน | ||
กลยุทธ์ 4.1 สนับสนุนการสร้างเครือข่ายในการพัฒนากำลังคนอย่างเป็นรูปธรรม | รง. ศธ. พณ. | สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 4.2 จัดระบบการวางแผนพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ | รง. สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา | สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 4.3 เสริมความรู้ด้านการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมให้กับทุกภาคส่วน | รง. อก. พณ. | สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 4.4 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเครือข่ายภาคีด้านกำลังคน | รง. อก. พณ. | สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 4.5 พัฒนาและขยายเครือข่ายข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน | รง. อก. พณ. | สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสนับสนุนให้กำลังคนมีความมั่นคงและหลักประกันในชีวิต | ||
กลยุทธ์ 5.1 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนเพื่อให้แรงงานมีหลักประกันที่มั่นคง/คุณภาพชีวิตที่ดี | รง. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) | อก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 5.2 ผลักดันนโยบายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพและสวัสดิการสังคมให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นธรรมให้แก่แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ | รง. พม. | อก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 5.3 สนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรเกี่ยวกับนายจ้างและลูกจ้าง | รง. พม. | อก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 5.4 สร้างความเข้มแข็งแก่หน่วยงานกลางที่ดูแลด้านแรงงาน | รง. พม. | อก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสนับสนุนให้กำลังคนมีคุณธรรม | ||
กลยุทธ์ 6.1 พัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรม และจริยธรรม | รง. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ศธ. | อก. สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 6.2 สร้างจิตสำนึกของคนในทุกสาขาอาชีพให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม | รง. วธ. | ศธ. อก. สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
กลยุทธ์ 6.3 สร้างเสริมความศรัทธาในสถาบันศาสนาเพื่อให้มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมศีลธรรม และสร้างความเป็นปึกแผ่นในสังคม | รง. วธ. | ศธ. อก. สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าฯ สภา/สมาคมวิชาชีพ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น