จากงานเสวนาทางวิชาการ “ประชาคมอาเซียน 2015: ภาพในมายาคติกับความเป็นจริง” จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit (SIU) เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 ณ อาคารพินิตประชานาถ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิปรายประเด็น “ชีวิตหลังประชาคมอาเซียน 2015: แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น”
รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ
หัวข้อ “มายาคติกับความจริง” อีก 3 ปีที่เขาตั้งความหวังไว้เป็นทั้ง 2 อย่าง คือมายาคติและความจริงไปด้วย ซึ่งสัดส่วนก็อยู่ที่ว่าจะเป็นฝ่ายใดมากกว่า สิ่งที่ผมสนใจคือ การมีส่วนร่วม ผมศึกษามา 20 ปี ตั้งแต่ก่อตั้งใหม่ๆ เริ่มมี AFTA หลังจาก 20 ปีนั้น คนเริ่มเข้าถึง จริงๆ ตอนนี้ ASEAN hot มาก ทุกสัปดาห์จะมีงานสัมมนาเรื่องอาเซียนตลอดที่ผมสังเกตเห็น เป็นเพราะมันเกิดจากความกลัว คือกลัวว่าจะปรับตัวไม่ทัน กลัวไทยจะแข่งขันสู้ไม่ได้ การมีเวทีสัมมนาทำให้เกิดการปรับตัวไปด้วย ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมีสัมมนาไม่เท่าไทย ขณะที่สิงคโปร์นี่ตระหนักสูง อินโดนีเซียกลางๆ ส่วนลาว กัมพูชา ยังไม่มากนัก
อีกเรื่องคือโอกาสด้วย ว่าเราจะทำอะไรกันได้บ้าง มันไม่ได้มีการประสานกันมากนัก และพยายามตระหนักให้มีองค์ความรู้ในด้านนี้ อาเซียนเริ่มเป็นคำศัพท์ที่ติดตลาด ซึ่งต่อไปควรทำพร้อมหน้ากัน ถึงจะปูความเป็นอาเซียนได้ดีมากขึ้น
ตอนนี้ เรามีความเป็นประชาคมไประดับหนึ่ง คือไม่ต้องใช้วีซ่าในบางประเทศเคลื่อนย้ายสะดวก ความเป็นประชาคม เรื่องของส่วนประกอบในด้านโลจิสติกส์ การสื่อสาร โทรคมนาคมยังน้อยมาก โทรศัพท์คุยกันยังมีราคาที่แพงอยู่มาก การเชื่อมต่อกันแบบ 3G ก็ยังน้อย ไม่เหมือนอเมริกาหรือยุโรปที่ต่อได้อัตโนมัติ ของเราก็ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
เที่ยวบินไปหากันยังมีความถี่ของเที่ยวบินน้อย การรวมตัวกันในด้านพื้นฐาน ด้านคมนาคม ความเป็นประชาคมในด้านนี้ยังน้อย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นประชาคม คนอินโดนีเซีย คนไทย คนพม่า หน้าคล้ายคลึงกัน แต่สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง ยุโรปก็สื่อสารไม่รู้เรื่องเช่นกัน แต่สื่อสารกันได้มากกว่าในอาเซียน
อาเซียนยังทำได้ไม่ไกลนัก ยังมีช่องว่างระหว่างกันอยู่เยอะ ถ้าเขายอมเสียอธิปไตยเพื่อส่วนรวมได้มากเท่าไหร่ ก็เป็นประชาคมได้มากเท่านั้น ในหมู่สมาชิกอาเซียนมีทั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างบรูไน มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างอินโดนีเซีย ถามว่ากัมพูชามีเลือกตั้งไหม มี เป็นเผด็จการไหม เป็น เป็นประชาธิปไตยไหม เป็น ก็เป็นได้ทุกอย่าง เหมือนสิงคโปร์ก็เช่นกัน เวียดนามก็มีคนกลุ่มเล็กๆ มากำหนดชะตาวิถีชีวิตของประเทศ
วิธีที่จะวัดวิธีหนึ่งของอาเซียนคือ จะมีใครยอมส่วนตัวเพื่อส่วนรวมบ้าง ปัญหาเดิมๆ อย่างปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นเรื่องใหญ่ของอาเซียน การที่อินโดนีเซียเข้ามาไกล่เกลี่ยแบบเต็มรูปแบบไม่ได้ ยิ่งทำให้อาเซียนดูมีปัญหาขึ้นมาละ เราต้องสังเกตว่าเขาพึ่งใคร ถ้าพึ่งข้างนอกอาเซียนเยอะ แปลว่าความเป็นประชาคมของอาเซียนยังมีไม่มาก ขณะที่มาเลเซียกับอินโดนีเซีย หรือมาเลเซียกับสิงคโปร์ ก็ยังมีปัญหาเก่าๆ เดิมๆ ฯลฯ
ตอนนี้ปัญหาใหญ่ของอาเซียนคือ ฟิลิปปินส์กับจีนขัดแย้งกัน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และลาว ไทย กัมพูชา พม่า จะมีมุมมองต่อจีนที่แตกต่างกัน ในเชิงวิชาการมีแนวทฤษฎีในการวิเคราะห์ที่กำลังมาแรงคือ “ภูมิภาคนิยม”
กล่าวคือมันสร้างกันได้ “Construction” มันเป็นองค์กร เป็นหน่วยศึกษา เป็นเวที เป็นภูมิภาคที่สร้างขึ้นมาได้และกำลังก่อสร้างกันอยู่ อีก 3 ปีข้างหน้า อาจประมาณ 40% เมื่อถึงเวลานั้น จะมีการแถลงการณ์อีกชื่อหนึ่ง และกำหนดให้อีก 3-5 ปีข้างหน้าก็จะทำได้อีกระดับหนึ่ง ไม่เคยทำได้ 100% แต่ตอนนี้ก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเหมือนกัน
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เดิม เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และได้มีโอกาสทำเรื่องสิทธิมนุษยชนตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และเรื่องผลกระทบของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เรากำลังจะพัฒนาและศึกษาปัญหาผลกระทบเชิงสังคมจะมีอะไรบ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน ฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซียฟิตกว่าใครในอาเซียน อินโดนีเซียเป็นประเทศแรกที่ตั้งหน่วยงานเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นมา กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน คนพวกนี้เป็นตัวแทนของรัฐ ทำในนามรัฐ เชื่อมโยงกับอาเซียน ในแง่ของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นสิ่งที่ UN เสนอว่าทุกประเทศควรจะมี
ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอีสต์ติมอร์ที่ไม่ใช่อาเซียน ก็มีหน่วยงานนี้ พอพม่าตั้งขึ้นบ้าง ทุกคนก็ตกใจหมดเลย เพราะคิดว่ากัมพูชาจะตั้งก่อน การพลิกตัวของพม่าด้านสิทธิมนุษยชน มีผลมากต่อภาพของพม่าในด้านนี้ด้วย ปีหน้าคาดว่า เวียดนาม กัมพูชา จะตั้งเหมือนกัน ส่วนลาว สิงคโปร์ และมาเลเซีย ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะตั้งหน่วยงานนี้ชัดเจนนัก
สำหรับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนก่อตั้ง ASEAN Charter ปีนี้กำลังจะทำอะไร ต้องส่งการบ้าน ASEAN Declaration for Human Rights ตอนนี้ก็พยายามมาก และไทยทำได้ดีมากที่สุด
ในเรื่องสิทธิมนุษยชน มีกลไก 2 ชุดคือ กลไกรัฐประกอบด้วย 10 ประเทศ และกลไกระดับชาติ เป็นระดับเครือข่าย หลายประเทศไม่ได้ตั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะเห็นว่ากีดขวางการทำงานของรัฐบาล แต่เพื่อพม่าตั้ง หลายประเทศก็เริ่มคิดเรื่องนี้มากขึ้น มีทั้งในระดับภูมิภาคและระดับรัฐ 2 ชุดนี้เขาจะแบ่งกันทำงานอย่างไร ประเด็นคือ ต้องชัดเจนว่าเรื่องใดภายในชาติก็อยู่ในระดับชาติ แต่ถ้าเป็นเรื่อง cross border ก็ให้เป็นเรื่องระดับภูมิภาค
ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนที่จะนำมาพูดถึงกันในปลายปีนี้คือ
- ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล
- ไม่อ้างความเป็นอาเซียน
ประเด็นการเคลื่อนย้ายคนและคนข้ามชาติ ที่มีปัญหาสิทธิพลเมือง สิทธิมนุษยชน เช่น โรฮิงยา ฯลฯ พม่าบอกว่าไม่ใช่คนของฉัน การแก้ปัญหาโรฮิงยา เราตกลงแก้ปัญหาในระดับภูมิภาค ประเด็นพวกนี้เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนที่จะมาดูแลมากขึ้น ส่วนปีหน้าจะดูเรื่อง
- การย้ายถิ่น การเคลื่อนตัวของคน
- Human Trafficking
- Human Rights
หลัง Kofi Annan สั่งทำงานวิจัยนี้ และมีการศึกษาดูเรื่องผลกระทบของธุรกิจข้ามชาติ ถ้ามีการละเมิดข้ามชาติ เราจะทำอย่างไร เช่น มีโรงงานน้ำตาลที่กัมพูชา มี NGOs ไปฟ้องศาล เขาาก็มาหากรรมการสิทธิ ซึ่งถ้าอยู่ในแผ่นดินไทยแล้วถ้ามีปัญหา ส่วนใหญ่อยู่ในระบบข้ามชาติ ก็ต้องนำมาพิจารณากัน ปัญหาแรงงานยังใช้ไม่ได้เลย รัฐต้องทำความเข้าใจเพื่อผลักดันประเด็นที่เราต้องดูแลด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นข้ามชาติหรือด้านเศรษฐกิจ
คุณศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กรมนี้อยู่ในกระทรวงพาณิชย์ ถ้าท่านรู้จัก USTR ท่านก็จะพบว่ามันมีลักษณะเหมือนกัน คล้ายกันมาก แต่สถานะไม่เท่ากัน มีแต่ระดับอธิบดี เราเปลี่ยนจากชื่อเดิมหลังเข้าเป็นสมาชิก GATT กรมเดิมคือ เศรษฐกิจการพาณิชย์ ซึ่งเป็น Think Tank ของกระทรวงพาณิชย์ ที่ดูเรื่องกติกาต่างๆ ฯลฯปี 1982 เราเข้าเป็นสมาชิก GATT หัวใจของเรื่องคือลดภาษี แลกเปลี่ยนกัน มีการดูเรื่องสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ มีการเจรจาเพิ่มเติมในรอบอุรุกวัย แต่หลัง WTO เกิดขึ้น กติกาครอบคลุมนอกเหนือสินค้า คือด้านบริการและทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิของประเทศที่ผู้ประกอบการจะทำโลจิสติกส์ การบริการต่างๆ ทำให้การค้าใกล้ชิดกับบริการมากกว่าเดิม
มีเรื่อง Trade & Human Rights, Trade & innovation และ Trade & Gender ที่กำลังเข้ามาเกี่ยวพัน เราก็ขยายภารกิจออกไปกว้างมาก เป็น Comprehensive Framework มากขึ้น มันเป็น Rights & Obligation เราต้องทำงานโดยยึดตามกติกา WTO เป็นหลัก ถ้าดู ASEAN หรือ AEC กรมเจรจาของเราก็มีหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ในเสาเศรษฐกิจ AEC มีความตกลง 3 ฉบับ รวมกันเป็น Comprehensive FTA นั่นเอง
ในปัจจุบัน WTO มีกติการะหว่างประเทศ ไม่มีเรื่องการลงทุน มีแต่ Trade Related เพราะ Doha Round ของ WTO ไม่คืบหน้า ทำให้กติกาหยุดชะงัก มีช่องว่าง ประโยชน์ของ WTO คือการเจรจาร่วมกันในระดับโลก ประโยชน์ที่ได้ก็ออกมาเป็น Implement เป็นแผนของทั้งโลก จีนเข้ามาหลังอินเดีย บราซิล หลังประเทศยักษ์ใหญ่พัฒนา
ส่วนหัวใจของเรื่องคือความสมดุลระหว่างประเทศเล็ก ประเทศใหญ่ ตามสมดุลของ concern ประเทศทั่วโลก โดย position ของประเทศใหญ่เป็นไปตามภาวะสถานะเศรษฐกิจของประเทศเขา ไทยก็ถูกยกเลิก Export Duty แต่ถ้าจะประนีประนอมก็ freeze ไว้ แต่ไม่เพิ่ม
ในอาเซียนการสร้าง AEC วัตถุประสงค์คือให้มีการสร้างการรวมตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของโลก ไทยต้องเป็นไปตามขบวนรถไฟนี้ ไทยใช้ FTA ในการสร้างแต้มต่อการแข่งขันนี้ เขาเรียก FTA เป็น Market Access Tool ส่วนกรมเจรจาทำหน้าที่เป็น Market Access Driver ความสำเร็จของเราด้านเศรษฐกิจ คือการลดด้านภาษีศุลกากร
การลงทุนของต่างชาติเราเชื่อมโยงกันมากขึ้น แต่เราไม่ได้เป็น Single Market ซึ่ง FTA ถือเป็น Plus จาก WTO ที่รัฐบาลตกลงกัน ส่วนอาเซียน มีการยอมรับกติกาในบางประเทศอย่างหลวมๆ กรมเจรจาเป็นผู้แก้ไข ปัญหาของเราคือ เราไม่สามารถอธิบายให้หน่วยงานต่างๆ เข้าใจได้ว่า สิทธิของเรา หน้าที่ของเรามีแค่ไหน จึงทำให้เรายังแก้ไขกันอย่างไม่รอบด้านเพียงพอ เทรนด์ตอนนี้ก็ถือว่าการรวมตัวทางเศรษฐกิจทำให้ต่างประเทศมีสิทธิมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น