จากงานเสวนาทางวิชาการ “ประชาคมอาเซียน 2015: ภาพในมายาคติกับความเป็นจริง” จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit (SIU) เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 ณ อาคารพินิตประชานาถ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วงอภิปรายว่าด้วยเรื่อง “ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก” มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเผยเรื่องราวปัญหาของแต่ละประเทศที่น่าสนใจยิ่งดังนี้
พม่า: รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา
เวลานี้ นักธุรกิจต่างมองพม่าเป็นโอกาส มองว่าเป็นเสืออีกตัว ซึ่งเรามักมองภาพบวกเป็นสำคัญ สภาพความเป็นจริงของประเทศนั้นที่เป็นเงื่อนไขเป็นอุปสรรคที่เป็นปัญหาสะสมนับทศวรรษแล้ว ปัญหาจากภายในของพม่า พม่าในช่วงหลังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญประการแรก เปลี่ยนจากรัฐที่ครั้งหนึ่งเคยให้ความสำคัญแบบเดิม คือทหารและความมั่นคงเป็นปัจจัยนำ เช่นการที่นายพลเต็งเส่งเปิดแผนเศรษฐกิจใหม่ อาจจะทำให้หันไปพึ่งพิงมหาอำนาจมากขึ้น ซึ่งลึกๆ แล้วพม่าคงไม่อยากพัฒนาเป็นประชาธิปไตยเท่าไหร่ แต่ปัญหาจริงๆ มาจากการถูกคว่ำบาตร การปลดล็อคคือการพัฒนาประชาธิปไตยมากขึ้น
ประการที่สอง การดำเนินนโยบายต่างประเทศของพม่า เดิมเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่หลัง 1998 เริ่มหันมาฝักใฝ่มากขึ้น เพราะเป็นผลจากการคว่ำบาตร จึงหันไปพึ่งพิงกับประเทศสังคมนิยมเป็นต้นมา
การเปลี่ยนแปลงหลัง 2010 รัฐบาลหันมาใช้นโยบาย Rebalancing Policy เริ่มตระหนักว่าเข้าไปพึ่งพาจีนมากจนเกินกว่าเหตุ พม่าพร้อมที่จะหันเข้าไปดึงมหาอำนาจตะวันตกเข้าไปเพื่อคานอำนาจจีนด้วย สิ่งที่ตามมาคือ กระแสการค้า การลงทุนอย่างมหาศาล จากเกษตรกรรมไปสู่กึ่งอุตสาหกรรมหรือเกษตรอุตสาหกรรม
ประการที่สาม ที่มาของอำนาจรัฐ อย่าลืมว่าเป็นเผด็จการทหารมา 50 ปี กลไกอันได้มาซึ่งอำนาจเริ่มเป็นกลไกที่ผ่านกระบวนการกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ผ่านการเลือกตั้ง โดย 1 เมษายนที่ผ่านมาก็มีการเปิดเสรีการเลือกตั้งในปี 2015 สัดส่วนจะเป็นอย่างไร การแข่งขันทางการเมือง ประชาชนจะมีสิทธิเข้ามามีบทบาทเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ พม่าเป็นระบบการเลือกตั้งที่มีหลายพรรคการเมือง
จุดเปลี่ยนต่างๆ ส่งผลให้พม่ามีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปพอสมควร อาจให้เสรีภาพสื่อมากขึ้น ปลดปล่อยนักโทษการเมือง เช่น อองซาน ซูจี เข้าสู่ระบบการเมืองอย่างถูกกฎหมาย กระแสตื่นพม่าค่อนข้างมาแรง ทิศทางเริ่มแสวงประโยชน์การลงทุนพม่าเป็นสำคัญ พม่าปิดประเทศมาร่วม 50 ปี สิ่งที่เกิดขึ้นคือ โครงสร้างต่างๆ ที่เป็นภายในของพม่า จำเป็นต้องได้รับการดูแล ไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนในช่วงข้ามคืน
รูปธรรมการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
ปัญหาความแตกแยกโครงสร้างทางการเมือง กลุ่มกองทัพ กับกลุ่มอองซาน ซูจี เป็นต้น จะส่งผลต่อการจัดสรรอำนาจ และเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปี 2015 ประเด็นปรองดองกับคนส่วนน้อย การหยุดยิงในพม่า มีบ่อยครั้งแล้ว พยายามบ่อยครั้งแล้ว จุดยืนก็คือแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป
ปัจจุบันนานาชาติเข้ามามีบทบาทสำคัญ เป็นเงื่อนไขสำคัญในการคว่ำบาตร ความเหลื่อมล้ำในกลุ่มชาติพันธุ์ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพุทธกับมุสลิม พม่าซึ่งอยู่ในโครงสร้างแบบเดิมและปิดประเทศมาช้านาน จะปรับเปลี่ยนได้เพียงใด ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ในภาวะที่มีอะไรมารุมเร้าต่างๆนานา พม่าคงไม่ได้เป็นภาพฝันและอยู่ในจินตนาการเท่านั้น
กัมพูชา: อาจารย์วัชรินทร์ ยงศิริ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา
รัฐบาลภายใต้การบริหารของพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ครองเสียงข้างมากถึง 90% เมื่อเดือนธันวาคม 2553 รัฐบาลกัมพูชาออกกฎหมายฉบับใหม่ ที่ผ่านกฎหมายออกมาแล้ว ในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นของประชาชนการปกครองไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบเต็มรูปแบบ เป็นประชาธิปไตยก็ไม่เชิง เผด็จการก็ไม่ใช่ เป็นประชาธิปไตยก็ไม่เชิง เผด็จการก็ไม่ใช่ แต่การครองเสียงข้างมากทำให้เป็นเผด็จการทางรัฐสภาเสียมากกว่า ประชาชนไม่สามารถออกเสียงคัดค้านได้
การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลที่เห็นได้ชัด คือการริดรอนสิทธิของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน สม รังสี รัฐบาลต้องสร้างหนทางให้รอดพ้นจากความขาดแคลนของประชาชน เช่น ที่ดินทำกิน การให้สัมปทานกับต่างชาติ ทำให้ประชาชนถูกเวนคืนที่ดินเพื่อให้ที่ดินแก่บริษัทต่างๆ ปัญหาที่รัฐบาลมีอยู่กับประชาชนจะทำให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นเพียงมายาคติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น