วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำ สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย

แนะนำ สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย:
ความเป็นมา

สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย (ASEAN Association – Thailand) ได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งหวังให้สมาคมฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของภาครัฐและสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับความร่วมมือของอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม เพื่อทำให้กระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2558
สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้เข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของอาเซียนที่มีต่อการดำเนินชีวิต ทั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนผ่านการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ และจะเป็นเวทีที่เปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียนจากภาคประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ
วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
  • สร้างมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนของประเทศต่างๆ ในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อสันติภาพ ความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ที่ดี ของประเทศสมาชิกและประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน
  • เป็นกลไกคู่ขนานกับภาคราชการในการส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีความสำนึกถึงความเป็นประชาชนอาเซียนซึ่งจะต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน
  • เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิชาการ สังคมและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน
  • ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ระหว่างประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกันและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนของภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม
  • เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินงานขององค์การอื่นใดที่มิใช่รัฐบาล และกับภาคประชาสังคมทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ สาธารณสุข การพัฒนา สิทธิมนุษยชน และเรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นการส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน
  • วัตถุประสงค์อื่นใดตามที่คณะกรรมการของสมาคมฯ ได้มีมติเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งได้รับการจดทะเบียนจากนายทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

คณะกรรมการสมาคมฯ 
คณะกรรมการดำเนินงานของสมาคมฯ ชุดปัจจุบัน (2552 – 2554) ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ในแวดวงอาเซียน จำนวนทั้งสิ้น 15 ท่าน

ดังนี้
นายกสมาคม           – คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์

(รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหาร)
อุปนายก                  – นายธีรกุล นิยม

(ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ)
กรรมการ                 – นายแผน วรรณเมธี

(เลขาธิการสภากาชาดไทยและอดีตเลขาธิการอาเซียน)
กรรมการ                 – ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
กรรมการ                 – ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง

(ผู้แทนการค้าไทย และอดีตรองเลขาธิการอาเซียน)
กรรมการ                 – นายการุณ กิตติสถาพร

(กรรมการพัฒนาระบบราชการ)
กรรมการ                 – นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล

(ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
กรรมการ                 – นายประมนต์ สุธีวงศ์

(ประธานอาวุโสหอการค้าไทย)
กรรมการ                 – รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ

(รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
กรรมการ                 – ดร.สายสุรี จุติกุล

(ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก)
กรรมการ                 – นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์

(ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน)
กรรมการ                 – นายพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์

(บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์)
กรรมการ                 – นายกวี จงกิจถาวร

(บรรณาธิการอาวุโสเครือเนชั่น)
กรรมการและเลขาธิการ   - นาวาตรี อิทธิ ดิษฐบรรจง

(อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ)
กรรมการและเหรัญญิก     – นายรัศมี จิตต์ธรรม

(ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลัง กรวงการต่างประเทศ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น