วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก: เวียดนาม ฟิลิปปินส์

ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก: เวียดนาม ฟิลิปปินส์:
จากงานเสวนาทางวิชาการ “ประชาคมอาเซียน 2015: ภาพในมายาคติกับความเป็นจริง” จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit (SIU) เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 ณ อาคารพินิตประชานาถ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วงอภิปรายว่าด้วยเรื่อง “ประชาคมอาเซียน 2015 กับปัญหาภายในของประเทศสมาชิก” มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเผยเรื่องราวปัญหาของแต่ละประเทศที่น่าสนใจยิ่งดังนี้

ภาพโดย AP

เวียดนาม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีระ นุชเปี่ยม ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยเชี่ยวชาญด้านแม่โขงศึกษา

กระแสตื่นตัวพม่านั้น จริงๆ แล้วมีกระแสตื่นเวียดนามมาก่อน มีการคาดหมาย เช่นจัดให้เวียดนามอยู่ในกลุ่มที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก อันนี้ไม่นับรวมจีน รัสเซีย อินเดีย บราซิลนะครับ ปัจจุบันมีประชากร 90 ล้านคนแล้ว ไล่ๆ กับฟิลิปปินส์ และ 2-3 ปีที่ผ่านมา เวียดนามประสบปัญหาหลายด้นที่ต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ ตอนนี้ก็กำลังฟื้นตัวอยู่
เวียดนามในฐานะที่เป็นดาวเด่น มีกระแสตื่นมาก นักลงทุนเริ่มลังเลที่จะไปลงทุน การที่มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นมา ความหวังก็เพื่อดึงดูดการลงทุน ผมไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาทั้งประเทศได้ แต่จะชี้ให้เห็นร่องรอยของปัญหาว่าที่ผ่านมา มันมีปัญหาอย่างไรบ้าง
ร่องรอยที่เห็นคือ ด้านหนึ่งคือโครงสร้างทางการเมืองและการปฏิรูป ลักษณะของระบบการเมืองเวียดนามมีลักษณะไตรภาค 3 ด้าน คือ ระบบพรรคนั้นมีพรรคคอมมิวนิสต์ผูกขาดอำนาจอยู่ มีระบบสั่งการแบบเลนินอยู่ มีการจัดตั้งองค์กรมวลชนที่ซาวด์เสียงเพื่อดูกระแสปฏิกิริยามวลชนอย่างไร
นอกจากนี้ก็ยังเป็นลักษณะ corporatism อยู่ และการปฏิรูปนั้นมีการดำเนินนโยบาย มีการเจรจาต่อรองมากขึ้น อย่างเช่นในจังหวัดที่รองรับการลงทุน ก็มีการตัดสินใจที่ต้องอาศัยการต่อรองมากขึ้น ในแง่โครงสร้างทางการเมือง รัฐสภามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเลขาธิการพรรคเป็นประธานรัฐสภามาก่อน ภาพที่ออกมาเป็นอำนจนิยมแบบอ่อน (soft power) แต่เป็นหนึ่งเดียวของเวียดนาม
ผมคิดว่ามี 2 ด้าน เพราะยังมีระบบสั่งการอยู่ หรือ Socialist Oriented หรือ Socialist Market Economy ซึ่งมีนัยยะสำคัญในทางปฏิบัติ เมื่อยึดมั่นระบบสังคมนิยม เศรษฐกิจของภาคเอกชนจึงยังปล่อยไม่ได้ ดังนั้น รัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่เป็นรัฐเข้าไปประกอบการเอง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นการแปรรูปเพียงบางส่วน คือดำเนินการแบบครึ่งๆกลางๆ กล่าวคือ รัฐวิสาหกิจเป็นแหล่งว่าจ้างงานขนาดใหญ่ จะรื้อโครงสร้างจริงๆ คงทำไม่ได้ และเป็นแหล่งผลประโยชน์
พวกเชื่อมั่นระบบสังคมนิยมก็ตั้งความหวังว่ารัฐวิสาหกิจต่างๆ ดำเนินต่อไป พวกนี้ก็ใช้เงินมากมายมหาศาล ผลที่ตามมาก็คือเจ๊ง ซึ่งผลจากระบบแบบนั้นคือ ผลจากการปฏิรูปทำให้ระบบที่ว่าผ่อนคลายลง การปฏิรูปต้องมีการลงทุนต่างๆ ให้ต่างชาติเข้ามา และลงทุนในต่างจังหวัดมากขึ้น เช่น ภาคใต้ บางส่วนก็เป็นการร่วมทุน ดังนั้น รัฐวิสาหกิจก็ยิ่งเติบโต

ผศ.ดร.ธีระ นุชเปี่ยม ผู้เชี่ยวชาญด้านเวียดนาม
3 ลักษณะสำคัญของรัฐวิสาหกิจ
  • คือการขยายสู่กิจการใหม่ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น (diversity)
  • จะมีการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจใหม่ๆ จำนวนมาก
  • มีการจัดตั้งบริษัทเอกชน แต่รัฐถือหุ้นและการลงทุนต่างๆ ก็มาจากทรัพย์สินภาครัฐนั่นเอง
กิจการที่ถือเป็นภาคเอกชนจริงๆ ของเวียดนามนั้นยังมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ก็เป็นภาคครัวเรือน หรือ SMEs ต่างๆ นอกจากรัฐวิสาหกิจจะขยายตัวจำนวนมากจะมีกลุ่มคนใหม่ๆ เข้ามา ส่วนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็น New Economy มีบทบาทซ้ำซ้อนมากขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐก็รับ job เป็นที่ปรึกษาของบริษัทเอกชนและคอร์รัปชั่นมากขึ้น
ผลจากระบอบการเมืองและการปฏิรูป ทำให้รัฐวิสาหกิจขยายตัวออกไปเป็นที่ฮือฮามาก บริษัท Change Building ที่ล้มละลายไป 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ในสภานั้น สส. แม้ว่าจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเสรี ยังต้องลุกขึ้นมาซักถาม จนประธานาธิบดีต้องกล่าวขอโทษต่อประชาชน และ สส. เองก็บอกว่าการเกิดกรณีเหล่านี้ขึ้น ทำให้เห็นจุดอ่อน ข้อด้อยของการเรียนรู้จากทุนนิยม
ลักษณะสำคัญของเวียดนาม
การคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาที่ต้องแปรรูปอย่างเสรี ผมว่าเป็นไปได้ยาก ต้องค่อยเป็นค่อยไป การที่เขามีรากฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งในช่วงปีที่ผ่านมา สถานการณ์ดีขึ้น เงินเฟ้อลดลง หลายบริษัทเริ่มกลับเข้าไปลงทุนใหม่ เวียดนามตอนนี้หวังว่า AEC จะช่วยขยายตลาดใหม่ เวียดนามหวังว่าไม่ว่าจะเป็นจินตนาการหรือมายาคติ เขาก็ยังหวังอยู่

ฟิลิปปินส์: รองศาสตราจารย์สีดา สอนศรี คณะบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ฟิลิปปินส์มีวัฒนธรรมเป็นแบบตะวันตกคือยุโรปและอเมริกัน เพราะตกเป็นเมืองขึ้นมานานทั้งสเปนและอเมริกันต้องศึกษา norm และค่านิยมต่างๆ ด้วย ฟิลิปปินส์มีกระบวนการชาตินิยมก่อนอินเดียด้วยซ้ำไป ระบบการเมืองเป็นแบบประชาธิปไตยคืออเมริกัน เขานับถือรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ถือเป็นแม่ของกฎหมายทั้งหลาย หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญบ่อยๆ หมายความว่าเป็นเพราะไม่ทราบว่าทิศทางรัฐธรรมนูญจะไปไหน
วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์จะชอบดีเบต เป็นแบบวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม มีอาสาสมัคร และ NGOs เยอะมาก ปัญหาที่พบคือประชากรล้น มีกว่า 95 ล้านคน ทำให้เกิดปัญหาคอร์รัปชั่นและความยากจน มีความเจริญส่วนหนึ่ง ยากจนส่วนหนึ่ง
อากิโน เขามาด้วยความโปร่งใส สะอาด ประกาศจะเข้ามาต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยไม่กลัวว่า image ของเขาจะเป็นอย่างไร ประธานศาลฎีกา อดีตประธานศาลฎีกาก็โดน ทำให้เกิด Good Governance เข้ามา
ความเจริญเติบโต 6.4 เนื่องจากมีการลงทุนภายในประเทศเยอะ มีการเข้าไปลงทุนในทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีธุรกิจที่เขาสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ เนื่องจากอเมริกาเข้ามาและเทรนด์เขา ทำให้เขามี skill ในการทำการค้า ลงทุนต่างประเทศได้ การปราบปรามคอร์รัปชั่นนำไปสู่การลงทุน มีกฎหมาย save industry law มี governance มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เอื้อต่อการลงทุน โดยเฉพาะเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
มีกลุ่มฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ฝ่ายเป็นกลางอยู่ในรัฐสภา ถ้าจะโหวตข้ามพรรคก็สามารถโหวตได้ ไม่ถือว่าเป็นการแตกแยกออกจากกัน ถ้าเป็นประเด็นผลประโยชน์ของชาติ ตัวอย่างคือ การถอนฐานทัพออก senior citizen กฎหมายผู้อาวุโส เวลา shopping  มี lane สำหรับ senior ได้ 20% คนที่กดดันคือกล่มฝ่ายซ้าย คือหมอและพยาบาล เขาเอื้อประโยชน์ต่อผลประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้ Birth Control ก็เป็นปัญหา เพราะศาสนาเห็นแย้ง ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น Reproductive Health Bill ส่วน สส. ก็สามารถร่างกฎหมายได้ ถ้า president พูดถึงความจำเป็นถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ Bill นี้ก็จะผ่าน
ฟิลิปปินส์ไม่มีปัญหากับประเทศในอาเซียน สิ่งที่เขาไปร่วมคือ TPP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership) ซึ่งมีหลายประเทศร่วมมือกัน แทนที่จะมาอาเซียนอย่างเดียว เขาก็ไปทางนี้ด้วย เพราะมี culture คล้ายคลึงกัน มีอเมริกาและลาตินอเมริกาที่เป็นเมืองแม่เ่า ตอนนี้มี free trade กันแล้ว ไม่ต้องเสีย tax

รองศาสตราจารย์สีดา สอนศรี
สิ่งสำคัญที่เราอาจมองไม่เห็น คือธุรกิจมีเยอะ มีการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คือจะลงทุนก็ไปตั้งให้ห่างไกลจากตัวเมือง รถติดน้อยลง คอร์รัปชั่นกำลังปราบปราม ส่วนปัญหาที่สำคัญคือ สแปรตลีย์ที่จีนเข้าไปในส่วนที่ฟิลิปปินส์ครอบครองมานานแล้ว ปี 2007 ASEAN พูดถึง Code of Conduct ว่าจีนมากเกินไปแล้ว ปัจจุบันจีนก็เข้ามาใหม่ ฟิลิปปินส์จึงพยายามดึงสหรัฐเข้ามา และ TPP เข้ามาซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากขึ้น
ปัญหาที่เปรียบเทียบกับไทยคือ ไทยมีปัญหาเรื่องการเมือง และ social network นำไปสู่ crime ซึ่งเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ด้วย ขณะที่ฟิลิปปินส์ปัญหาคือประชาชนล้นเกิน คอร์รัปชั่นฟิลิปปินส์ก็มีแบบขึ้นๆ ลงๆ แต่การคอร์รัปชั่นก็ไม่ต่างจากไทยมาก
ในด้านนโยบายต่างประเทศ ฟิลิปปินส์มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่วน national security ก็คือเรื่องหมู่เกาะสแปรตลีย์ นอกจากนี้ก็มีเรื่อง welfare of Philippine overseas คือเขาจะรักษา welfare คนฟิลิปปินส์ที่อยู่นอกประเทศเยอะมาก และภาษาเขาก็ดีมาก ปัญหาของไทยก็คือต้องมานั่งคิดแก้ไขกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น