วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เมื่อฉันไปร่วมงาน: วิกฤตและโอกาสของคนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN)

เมื่อฉันไปร่วมงาน: วิกฤตและโอกาสของคนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN):

“ผู้หญิง-ผู้บริโภค-แรงงาน-วิกฤต-โอกาส มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีนัยยะกับ ASEAN”

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว  มีโอกาสไปร่วมประชุมงานหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นประเด็นร้อน เอาเป็นว่า Hot แบบตอนนี้มีแต่คนจัดประชุม สัมมนา ให้ความรู้ และพูดถึงกันแต่เรื่องนี้ตลอดเวลา ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ นั่นก็คือเรื่องของประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN และรวมถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่คนส่วนใหญ่คุ้นกันดีกับตัวย่อ AEC ด้วย :)
หัวข้อของการประชุมวันนี้ ขอบอกว่ายาวมาก ยาวแบบพอไปถึงที่รัฐสภาแล้วทางคุณพี่รปภ.ถาม (อย่างเป็นมิตร) ว่ามาร่วมงานอะไรนะครับ
บอกได้แต่หัวข้อหลักๆ “ผู้หญิง-วิกฤต-โอกาส และ AEC”ค่ะ (รู้ตัวว่าบอกชื่อไม่ถูก ต้องยิ้มหวานๆให้ก่อน ตามคอนเซ็ปท์สยามเมืองยิ้ม)
และก็ต้องชมว่าที่นี่สื่อสารกันดี เพราะขนาดบอกไปแบบกะพร่องกะแพร่งแบบนี้ พี่เค้าทราบว่ามางานไหน สามารถบอกตึกและแนะนำให้ได้ เราก็เลยรอดตัวไปแบบชิลด์ๆ :)

***ภาพดัดแปลงจาก: http://bk.asia-city.com
ขอให้ข้อมูลกันก่อนค่ะ งานนี้ชื่องานแบบเต็มๆว่า โครงการเพิ่มศักยภาพผู้นำสตรีในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เรื่อง “วิกฤตและโอกาสของคนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” เนื้อหาหลักๆที่จะมาคุยกันคือ
I. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558/ ผลกระทบด้านต่างๆ
II. วิกฤตและโอกาสของคนไทยใน ASEAN  ใน 3 แง่มุม คือ ผู้หญิง/ ผู้บริโภค และแรงงานและเศรษฐกิจ
III. แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิด (สามกลุ่ม สามแง่มุม)
ตั้งแต่ทราบว่าต้องมางานนี้ เรื่องแรกที่ตั้งคำถามขึ้นมาคือ
“แล้วมันจะทันหรอพี่? หัวข้อแน่นขนาดนั้นกับเวลาขนาดนี้?”
และได้รับคำตอบว่า “ก็ไม่รู้ ลองไปดู เป็นตัวแทนเราด้วยนะ”
“เอ่อ…OK ค่ะ ลองดูค่ะ”
ทำไงได้ >.<  เพราะอันตัวเรานั้นก็มีความรู้่เกี่ยวกับ ASEAN/AEC บ้างนิดหน่อย ดีแล้วไปงานนี้ เผื่อจะได้รับฟังความคิดอะไรที่แปลกและแตกต่างจากมุมเดิมๆของเราบ้าง  เพราะดูจากหัวข้อแล้วก็น่าสนใจไม่น้อย  แถมถ้ามองดีๆแล้ว เราก็อยู่ในทุกกลุ่มเลยนินา! (เป็นทั้งผู้หญิง ผู้บริโภค แถมยังเป็นแรงงานอีกต่างหาก) เชื่อว่าต้องไปได้ความรู้กลับมาบ้างแหละน่า และก็จริงๆด้วย การไปร่วมงานรอบนี้ได้อะไรมากกว่าที่คิด และมีเซอร์ไพรส์ด้วย เปิดโลกจริงๆ คุ้มที่ตื่นแต่เช้า แต่งตัวสวมหน้ากากฝ่าฟันการจราจรไป !! (บ้านก็ไกลจากรัฐสภาพอสมควรนะนี่)
พิธีเปิดงานถูกเลื่อนเวลาออกไปนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้รอนานจนทนไม่ไหว ระหว่างรอมีการให้คำชี้แนะในการร่วมประชุม เนื่องจากเวลาและพื้นที่อันจำกัดของเรา อาหารว่างและอาหารกลางวันของผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านจะถูกนำมาบริการให้ถึงโต๊ะ (OMG @.@) หากต้องการเข้าห้องน้ำก็ออกไปด้านหลัง ผู้หญิงเลี้ยวซ้ายผู้ชายเลี้ยวขวา (เหมือนชื่อหนัง แต่ไม่ใช่ อันนี้ของจริง – ห้องน้ำจริง เข้าได้จริง)

เปิดม่านการประชุม: ปูพื้นฐานความรู้ให้ก่อนสักหน่อย

ด้วยความเชื่อว่าทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุมมีพื้นความรู้เกี่ยวกับหัวข้อวันนี้แตกต่างกันไป และบางท่านอาจจะไม่ค่อยได้ทราบเรื่อง ASEAN และ AEC มากนัก การประชุมจึงเปิดด้วยการให้ความรู้ด้วยการบรรยายพิเศษโดยคุณตวง อันทะไชย ในหัวข้อ”เตรียมความพร้อมเข้าสู่ ASEAN และผลกระทบด้านต่างๆ”
เนื้อหาแน่นมาก ทั้งตัวPower point และเอกสารประกอบการบรรยาย แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการอยากมาเผยแพร่ความรู้ เสียดายเวลาที่มีจำกัดมากๆ (ไม่ถึง 1 ชั่วโมง)  ทีมงานก็นะ! สุดความสามารถเพื่อเก็บตกเรื่องที่น่ารู้และเป็นประโยชน์มาให้เพื่อนๆ ดังต่อไปนี้เลยค่าาาาา~~~~~~~~

 ”อะไรก็ AEC – AEC  ไม่เอาได้ไหม ไม่เข้าได้เปล่า?”

หลายคนเคยถามคำถามนี้ เพื่อนๆอาจจะยังไม่ทราบว่า ประเทศไทยไชโยของเรานี่แหละค่ะเป็นแกนนำก่อตั้งประชาคมอาเซียน โดยเท้าความถึง ปี 1967 (พ.ศ. 2510 #FYI ไม่ต้องเทียบปี ^^) ที่มีการก่อตั้ง”สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)” แถมให้ว่าชื่อปฏิญญาในการก่อตั้งครั้งนี้ ชื่อ”ปฏิญญากรุงเทพ” (Bangkok Declaration) ด้วยนะตัวเธอ งั้นขอจะอธิบายง่ายๆเป็นไทม์ไลน์ดังนี้


เอาล่ะ! หากเราเป็นตัวตั้งตัวตีในการเริ่มกิจกรรมอะไรสักอย่าง ไปตีฆ้องร้องป่าวไว้ซะขนาดนี้  อยู่ดีๆจะบอกให้ไปกันก่อนเลยนะจ๊ะ เผอิญท้องเสียไม่ไปด้วยแล้วมันก็ยังไงอยู่นะคะ และต้องยอมรับว่าปัจจุบันและรวมถึงอนาคต มันเป็นสมการแบบนี้  “อดีต + ปัจจุบัน + อนาคต= แคบเข้า” โลกอนาคตนั้นจะเป็นในแนวเด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว และยังไม่ใช่โลกที่มีแต่การขายของอย่างเดียวซะแล้ว แต่ความสำคัญจะไปตกอยู่ที่ I. การบริหาร II.แบรนด์ (Brand – ขออนุญาตทับศัพท์) III. ความรู้ เสียมากกว่า อืม… ในเมื่อทำท่าจะหนีไม่ได้เราก็มาทำความเข้าใจและพร้อมรับมือกับมันดีกว่าเนอะ!
คราวนี้ มาถึงคำถามที่ว่า”ทำไมเราถึงไม่พร้อมล่ะ?” หากให้ทางฝั่งทีมเก็บข้อมูลของคุณตวงและทีมงาน กลั่นกรองมาเป็นข้อ (แก้ตัว) ๆได้ดังนี้
ประเทศไทยเป็นแกนนำก่อตั้งประชาคมอาเซียนก็จริง แต่ทว่า…
  • เรายังไม่มีนโยบายในการเตรียมไพร่พล เอ้ย! ประชาชนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแบบเป็นระบบแถมยังไม่ต่อเนื่องอีก >.<
  • ส่วนราชการก็พยายามอยู่นะ แต่ออกแนวต่างคนต่างทำ ขาดเจ้าภาพในการรวมพลและดำเนินการ
  • ภาคประชาชนก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ซ้ำบางท่านยังไม่ตระหนักในการเข้าร่วม AEC ของเราซะอีก T T
  • ไม่มีข้อเสนอที่สนับสนุนต่อเรื่องนี้ในเชิงนโยบาย
สรุปความคิดตกผลึกของวิทยากรได้ดังนี้:

เถียงไป ถามไป สรุปว่าไม่ใช่แค่ความผิดของคนใดคนหนึ่งหรอก แต่มันเป็นเรื่องของ “เรา”ทุกคนต่างหาก เนอะ เนอะ :)

3 เสาหลักประชาคมอาเซียน ASEAN

หลังจากวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 หลังจากปฏิญญากรุงเทพ โลกเราก็มีโอกาสได้ต้อบรับสมาชิกใหม่ในชื่อ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 10 ประเทศ และมี GDP รวมเท่ากับ 1.8 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐ นับเป็นลำดับที่ 9 ของโลก (ว้าว! ติดTop Ten ด้วยนะนี่)

โครงสร้างอาเซียน: 3 แผนการดำเนินการ (พิมพ์เขียว – Blue Print) ของ AEC

เมื่อพูดถึงแผนการดำเนินการ หรือสามเสาหลักประชาคมอาเซียน นั่นหมายถึงเรากำลังพูดถึง
  • ประชาคมการเมืองและการมั่นคงอาเซียน (APSC=ASEAN Political-Security Community)
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC = ASEAN Economic Community) <<เจ้าตัวนี้แหละค่ะ ตัวดีที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นและบ่อยขึ้น!!
  • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC = ASEAN Socio-Cultural Community)
เห็นแล้วเซ็งเหมือนอ่านหนังสือหรือคู่มือน่าๆเบื่อหรือเปล่าคะ? ลองเอามาทำแบบนี้จะเข้าใจง่ายขึ้นไหมหนอ?

***ภาพนี้ดัดแปลงมาจากเอกสารประกอบการบรรยาของคุณตวง อันทะไชย***
มีสิ่งหนึ่งที่พวกเราน่าจะต้องตระหนักไว้ด้วยคือ ในแผนการดำเนินการทั้ง 3 เสาหลักนี้ ข้อตกลงทุกข้อในนั้น ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง ส่วนถ้าประเทศใดในกลุ่ม ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นๆได้ ต้องยอมรับและสละสิทธิ์นั้น
อืม แค่นี้เองเนอะคะ เก๋ๆง่ายๆ ใครควอลิฟายด์ก็ได้สิทธินั้นไป จบ :)

นักวิชาชีพอาเซียน: แรงงานฝีมือที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในกลุ่ม ASEAN

เคยสงสัยว่า เวลาที่พึ่งลุงกู-ป้ากู(เกิ้ล)หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอาชีพที่สามารถทำได้อย่างเสรีทั่วอาเซียน บางแหล่งจะใบ้หวย (บอกเลข) เขียนว่า 7 อาชีพบ้าง 8 อาชีพบ้าง ที่สุดก็มาแจ่มกระจ่างเบิกเนตรที่นี่เอง นั่นคือ วิศวกร( Engineering Services) พยาบาล (Nursing Services) สถาปนิก (Architectural Services) สำรวจ (Surveying Qualifications) นักบัญชี (Accountancy Services) ทันตแพทย์ (Dental Practitioners) แพทย์ (Medical Practitioners) อันที่บวกเข้าไปให้ป๊อกเด้ง (เป็น8) คือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างๆซึ่งก็รวมถึง คนที่มีอาชีพเป็นไกด์หรือมัคคุเทศน์นั่นเองค่ะ
เงื่อนไขแบบเบาๆสไตล์ ASEAN สำหรับแรงงานฝีมือที่พร้อมจะวาร์ปไปวาร์ปมาในประเทศสมาชิกของ ASEAN คือ
“ท่านจะสามารถเข้าไปทำงานใน 10 ประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี และถูกปฏิบัติประหนึ่งเป็นประชากรของประเทศที่ท่านไปพำนักอยู่ เพียงแค่ท่านมีความสามารถและผ่านเกณฑ์เงื่อนไขตามที่แต่ละประเทศกำหนดได้” (เริ่ม 1 มกราคม 2558) 
ตัวอย่างเช่น (ข้อมูลไม่กรองนะคะ ขอยกตัวอย่างเฉยๆ) หมอโอ๋อยากไปเป็นคุณหมอที่โรงพยาบาลในประเทศพม่า หมอโอ๋อาจจะต้องผ่านการทดสอบหรือมีคุณสมบัติตามที่ทางพม่ากำหนดไว้ เช่น สามารถพูดภาษาพม่าพื้นฐานได้ สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ เป็นต้น  ถ้าดูจากเงื่อนไขนี้ ก็บอกเราเป็นนัยๆได้ว่า ถึงแม้อาชีพทั้งหลายเหล่านี้จะถูกกำหนดให้ได้สิทธิพิเศษ แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกท่านที่ทำอาชีพนี้ สามารถเคลื่อนย้าย หรือวาร์ปเข้าวาร์ปออกตามทุกประเทศดั่งใจนึกได้ หากเขาคนนั้นไม่มีคุณสมบัติตามเกณฑฺ์และเงื่อนไขที่ประเทศนั้นๆกำหนด
เมื่อถึงปี 2558 สมาชิก ASEAN ทั้งหลายจะมีหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลัก กำหนดนโยบายหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกี่ยวกับด้านต่างๆ เช่น มาเลเซีย จะดูแลเรื่องยางและสิ่งทอ, พม่าดูแลเรื่องเกษตรและประมง, ฟิลิปปินส์รับผิดชอบเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนไทยแลนด์ เนื่องจากตั้งใจจะเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวและสนามบินสุวรรณภูมิของเราน่าภาคภูมิใจ(มาก)มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน ดังนั้นเราจึงขอรับหน้าที่ดูแลเรื่องท่องเที่ยวและการบิน
คืออยากบอกว่า ที่แสบๆ (คันๆ?) คือ สิงคโปร์เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมไปถึงพวกนวดและสปาด้วยค่ะ อ่าว…ของส่งออกและทำเงินของไทยเลยนี่นา ชวนกันคิดเล่นๆว่า ถ้าเค้ากำหนดให้ผู้ที่จะไปทำอาชีพสปาหรือหมอนวด (เพื่อสุขภาพนะ อย่าคิดไกล) ให้พูดอังกฤษระดับนั้นระดับนี้ เชื่อว่าคนไทยยังคงอุ่นใจได้ว่า จะยังสามารถไปนวดแก้ปวดเมื่อยในเมืองไทยได้อยู่ เพราะมีบางท่านยินดีที่จะอยู่มาตุภูมิต่อไปค่ะ
สำหรับข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัตินักวิชาชีพ หรือ Mutual Recognition Arrangements (MRAs) เพิ่มเติม @Suwi – นักเขียนมืออาชีพของ @VConnex ได้เคยกล่าวไว้แล้ว หากสนใจ คลิกตามไปอ่านเพิ่มเติมๆได้ที่นี่ค่ะ :)

ภาษา คือ ประตูสู่อาเซียน

ระหว่างสมาชิก 10 ชาติ ASEAN ได้ตกลงกันแล้วว่า ภาษากลางที่จะใช้ในการสื่อสารคือภาษาอังกฤษ กล่าวคือ ณ ตอนนี้ ถ้าใครไม่กลัวที่จะใช้ภาษาอังกฤษและสามารถใช้ภาษาเพื่อนบ้านได้ ดิฉันสัมผัสได้ว่ามีแววรุ่งค่ะ
ส่วนท่านใดที่ยังคิดว่าภาษาเพื่อนบ้านของเรา อย่างลาว เขมร เวียดนาม พม่า เชยแล้วล่ะก็ อยากให้มองมุมใหม่ๆบ้าง เรามีประสบการร์ชื่นชม (แกมอิจฉาเล็กน้อย) กับรุ่นพี่คนหนึ่ง  ตอนไปประชุมที่กัมพูชาเค้าสามารถเป็นล่ามไทย-แขฺมร (ภาษาเขมร) ได้อย่างเชี่ยวชาญเพราะบ้านเกิดพี่เค้าอยู่สุรินทร์ คนแถวนั้นพูดเขมรค่ะ โปรดทราบไว้เลยว่าเด็กที่อยู่ในต่างจังหวัดหรือชายแดนที่สามารถพูดภาษาถิ่นแถบนั้นได้ กำลังจะขยับตัวจากสถานะที่บางคนคิดว่าชายขอบ เข้ามาเป็นจุดศูนย์กลางแล้วนะเออ!

เมื่อความแตกต่างของวัฒนธรรมกำลังจะถูกหลอมรวมและอยู่ด้วยกัน

ต้องอยู่ด้วยกันแบบสันติด้วยนะ ในบรรดาสมาชิก 10 ประเทศ เราสามารถจัดกลุ่มโดยใช้หลักศาสนาและความเชื่อได้ทั้งหมด 4 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
  • ขงจื้อ   – เวียดนาม/สิงคโปร์
  • พุทธ    - ไทย/พม่า/ลาว/กัมพูชา
  • อิสลาม – มาเลเซีย/ อินโดนีเซีย/ บรูไน
  • คริสต์   – ฟิลิปปินส์
ดูจากที่จัดกลุ่มนี้ อาจจะอุ่นใจไปได้นิดๆว่าไทยเราก็มีเพื่อนบ้านที่มีความเชื่อคล้ายคลึงกัน ซึ่งความเชื่อนั้นอาจจะไปมีอิทธิพลต่อวิถีการดำรงชีวิต ความคิด และอื่นๆ สามารถมองได้สองด้าน ด้านดีคือถ้าเป็นความคิดที่มันถูกต้องหรือดีอยู่แล้ว เราก็สามารถยิ้ม ชื่นชมและรักษาดำรงมันไว้ต่อไป แต่ทว่าหากความเชื่อนั้น เป็นความเชื่อที่อาจจะไม่ทันยุคสมัยหรือเอนเอียงไปทางการกดขี่ ไม่เป็นธรรม ไม่สนับสนุนสันติภาพ มันก็อาจทำให้ยิ่งยากในการปรับความเข้าใจหรือรื้อถอนความคิดที่ลิดรอนสิทธิมนุษยชนหรือความคิดที่อาจเป็นชนวนก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคมเหล่านั้นได้

ยินดีต้อนรับความเสรี

ขอต้อนรับเข้าสู่โลกแห่งความ”เสรี” อีกคำหนึ่งที่จะได้ยินกันบ่อยๆคือ “เสรี” อะไรๆก็เสรี แล้วมันอะไรบ้างล่ะ ที่เสรี?
  • เสรีการค้า: ยาง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์
  • เสรีภาคบริการ: คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ท่องเที่ยว สุขภาพ การศึกษา  ขนส่งทางอากาศ
  • เสรีด้านการลงทุน: มีทรัพยากรมาก —> มีการลงทุนมาก
  • เคลื่อนย้ายแรงงานเสรี: อาชีพที่ตกลงไว้ใน MRAs/ นายจ้างมีทางเลือกมาขึ้น/ ทักษะภาษา

ทัศนคติและความตระหนักรู้เกี่ยวกับ ASEAN ในบรรดา1o ประเทศสมาชิก

รูปด้านล่างเป็นสรุปผลการสำรวจทัศนคติและความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน โดยลงสำรวจนักศึกษา 2,170 คนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศกลุ่มสมาชิก ASEAN  เชิญชมได้เลยค่า >.<


คาดว่าไทยคงเข้าใจอะไรผิดว่าจัดอันดับแบบนี้ เลขมากแล้วจะดีเอง เลยครองตำแหน่งบ๊วยไปทั้งคู่ ทั้งผลการสำรวจเกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่รู้จักธงอาเซียนและรู้ว่าอาเซียนก่อตั้งเมื่อใด
เมื่อพูดถึงเรื่องการสำรวจและตัวเลขแล้ว ทีมงานมีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆค่ะ
  • ชาวไทยร้อยละ 54.05 ไม่ทราบเรื่อง AEC (นิด้าโพล 1 พ.ค. 55/สยามรัฐ)
  • 70-80%ของบุคคลากรทางการศึกษาของไทยแทบไม่มีความรู้เลยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนรวมทั้งไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับนโยบายด้วย (ผลวิจัยจุฬา/ กรมประชาสัมพันธ์)
  • 8 ใน 10 คนของนักศึกษาไทยไม่กล้าไปทำงานในประเทศในกลุ่ม ASEAN เพราะกลัวเรื่องภาษา (ผลวิจัยจุฬา/ กรมประชาสัมพันธ์)
  • 100% ของนักศึกษาต่างชาติในกลุ่ม ASEAN ต้องการเข้ามาทำงานที่เมืองไทย (ผลวิจัยจุฬา/ กรมประชาสัมพันธ์)
  • คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 49 หรือแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นที่รู้เรื่อง AEC (สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย/มติชนรายวัน 7 มิ.ย. 55)
  • กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นม.ปลายในกทม. มีแค่ 0.54% ที่ทราบเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน ASEAN (กองวิจัยตลาดแรงงาน 2554)

เส้นทางใหม่ -หัวใจของการคมนาคมใน ASEAN

เมื่อมีการรวมตัวกัน เท่ากับพื้นที่ก็ขยายออกใหญ่ขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการคมนาคมเป็นหัวใจสำคัญในการเดินทางติดต่อ ไม่ว่าจะเพื่อธุรกิจ ท่องเที่ยว หรือด้านใดๆ
ขอแนะนำชื่อย่อของเส้นทางใหม่ไว้ตรงนี้ เผื่อเพื่อนๆไปเจอหรือได้ยินที่ไหนจะได้ไม่งง
ถนนเส้น GMS CBTAหรือชื่อเต็มๆว่า Greater Mekong Subregion Cross-Broader Transport Agreement ชื่อภาษาไทยคือถนนข้ามพรมแดนในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
  • สาย R3A (NSEC =North-South Economic Corridor)     คุนหมิง-ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์
  • สาย R9 (EWEC = East-West Economic Corridor)             พม่า-ไทย-เวียดนาม
ข้อมูลเพิ่มเติม ดาว์นโหลดเอกสารเผยแพร่ได้ที่นี่ค่ะ

สิ่งที่คาดจะเกิดขึ้นในประเทศไทยหลังจากวันที่ 1 ม.ค. 2558

  • เราจะเห็นประเทศสมาชิกใน ASEAN ทั้งหลายมา
  • เปิดร้านขายอาหาร
  • บริการสปาและร้านนวด
  • เปิดโรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย
  • มาทำงานรวมกับคนไทยหรืออาจจะอยู่ออฟฟิสเดียวกับเรา หรือแม้แต่ทำตำแหน่งเรา (แล้วเราไปไหน?)
  • เปิดคลีนิคต่างๆ
  • ขายของ  …ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า…

งั้นเราจะเน้นด้านไหน หรือทำอะไรได้บ้าง: อะไรที่ดูเหมือนจะเป็นจุดแข็งของเรา?

  • พ่อครัว ช่างซ่อมรถ ช่างอัญมณี ช่างคอมพิวเตอร์
  • บุรุษพยาบาล คนดูแลเด็กและคนชรา (อันนี้น่าสนใจ ต่อไปสังคมน่าจะเป็นแนวโน้มสังคมคนสูงอายุมากขึ้น) แม่บ้าน
  • หลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานรวมถึงภาษา (อังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน)
  • (อันนี้เพิ่มให้เองค่ะ) ทำอะไรก็ได้ที่ชอบและอยากทำ ขอให้พัฒนาตัวเองตลอดเวลาและหูตากว้างไกล ทำใจยอมรับความคิดต่าง
ทิป: เราไม่สามารถเป็นผู้นำในทุกด้านได้ พึงระลึกว่าหากเป็นผู้นำไม่ได้ ก็ควรเป็นผู้ตามที่ได้ประโยชน์

E-Learning จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการศึกษา

ต่อไปความรู้จะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงเรียนหรือห้องสมุดอีกต่อไป เพราะ E-learning จะเข้ามามีบทบาทในการศึกษาหาความรู้มากขึ้น การเลื่อนเวลาเปิดเทอมให้พร้อมกันทั่ว ASEAN เพื่อสนับสนุนเสรีทางการศึกษา นักเรียนนักศึกษาจะสามารถตระเวนเรียนไปได้ทั่วประชาคมอาเซียน เช่นไปเรียนปริญญาตรีปีแรกที่ฮานอย เรียนปี2 ที่กรุงเทพฯ  ปี3ไปเรียนที่สิงคโปร์ และย้ายไปเรียนปี4 ที่มาเลเซีย ข้อดีคือ นักเรียนนักศึกษาจะได้ท่องเที่ยวไปอยู่ในประเทศที่ตนสนใจ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมและประสบการณ์ใหม่ๆ โดยที่เสียค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับการเรียนที่ประเทศตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น