วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์ข้าวจากระดับอาเซียนสู่ระดับโลก: นัยสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหาร

สถานการณ์ข้าวจากระดับอาเซียนสู่ระดับโลก: นัยสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหาร:
ประเด็นข้าว – สำหรับในประเทศไทยได้หยิบยกโครงการจำนำข้าวมาพูดถึงกันอย่างมากและต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เรามาดูกันบ้างว่า สถานการณ์ข้าวในโลกและเอเชียเป็นอย่างไรบ้าง??

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ได้นำประเด็น “ข้าว” มาศึกษาและนำเสนอไว้ในรายงานหลายชิ้นด้วยกัน เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เขาเห็นว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า รัฐสมาชิกอาเซียนจะเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญมากในตลาดข้าวของโลก 
  • อาเซียนจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 53%
  • นำเข้า 14%
  • มีพื้นที่เพาะปลูกโดยรวมประมาณ 29%
  • ผลิตได้ 25% และ
  • บริโภคเพียง 22%
รายงานชิ้นนี้ประเมินภาพรวมและชี้ให้เห็นข้อถกเถียงถึงทิศทางของอุปทานและอุปสงค์ในเรื่องข้าว ตลอดจนการจัดการความเสี่ยงว่าด้วยความผันผวนในราคาข้าว รวมทั้งนโยบาย การบิดเบือนอุปทาน และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ADB นำเสนอกรอบตัวแบบที่เรียกว่า “Arkansas Global Rice Model” หรือ AGRM ที่ให้อาเซียนเป็นเสมือนตัวแทน เช่น การก่อตั้งคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Food Security Reserve Board: AFSRB) โมเดลดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงการเป็น คนกลาง และเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว โมเดลนี้จะออกแบบให้เห็นความสอดคล้อง เกี่ยวพัน และร่วมมือกันในเชิงนโยบายภายในอาเซียนมากยิ่งขึ้น
ข้าวถือเป็นอาหารหลักของประเทศในอาเซียน และยังมีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคด้วย โดยในปี 2007-2008 ที่เกิดวิกฤตราคาข้าวนั้น เป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านนี้ หันมาร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตเช่นเดิมอีก
การจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตราคาข้าวนั้น จะประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านของนโยบาย การบิดเบือนอุปทาน และความเปลี่ยนแปลของสภาพภูมิอากาศ ในอาเซียนนั้นมีการบริโภคข้าวประมาณ 22% ของทั้งโลก และการบริโภคในอีก 10 ปีข้างหน้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% ต่อปี

กรวิจัยข้าว ภาพจาก cp e-news
การส่งออกข้าวของอาเซียนนั้นเสื่อมถอยลงจากปี 2010 ถึง 16.6% เราจะเห็นว่าน้ำท่วมที่นาในหลายประเทศของอาเซียนเมื่อปี 2011 นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวตกต่ำลง และในปีที่ผ่านมานั้น นโยบายทั้งด้านการค้า การส่งออก และการนำเข้าข้าวยังมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจข้าวในอาเซียน ซึ่ง 5 ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญของโลกคือ ไทย อินเดีย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนครองตลาดข้าวของโลกถึง 87%
อีก 10 ปีข้างหน้าราคาข้าวเมล็ดยาวจะเสื่อมลง จาก 486 เหรียญสหรัฐต่อ 1,000 กิโลกรัม เป็น 421 เหรียญสหรัฐต่อ 1,000 กิโลกรัม ราคาจะตกไปจากเดิมประมาณ 65 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ราคาข้าวเมล็ดกลางนั้น คาดว่าราคาจะคงตัวอยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐต่อ 1,000 กิโลกรัม ถ้าเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา ราคาอ้างอิงจากตลาดโลกระบุว่า ราคาข้าวขาวเมล็ดยาวจะเสื่อมลงมากขึ้น
ทั้งนี้ รายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย สรุปว่า การเป็นแหล่งสำรองข้าวของโลก อาจต้องเพิ่มเครื่องมืออุปกรณ์ในการดูดซับความชื้นจากข้าว การเพิ่มแหล่งจัดเก็บข้าว การเพิ่มการลงทุนในด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนา การทำระบบโลจิสติกส์ให้ดีมากขึ้น และจัดการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานภายในให้ดีขึ้น เพื่อขยายความเข้มแข็งในด้านนี้มากขึ้น และสร้างบรรยากาศในการค้าข้าวเพื่อตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่ และขยายตลาดให้กว้างมากขึ้น
ภายในภูมิภาคอาเซียนเองก็ต้องมีความชัดเจนในความสามารถด้านการผลิตภายในประเทศ เช่น กัมพูชา ลาว และพม่า ต้องพัฒนาการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายใน เพื่อสนับสนุนให้ชาติสมาชิกแห่งอาเซียนกลายเป็นศูนย์กลางผลิตข้าวรายใหญ่ที่ยั่งยืนมากขึ้น
นอกจากนี้ รายงานอีกหนึ่งชิ้นที่พูดถึงความไม่แน่นอนและความยืดหยุ่นของราคาข้าวในอาเซียนนั้น เขาก็ชี้ให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวจะมีมากขึ้น แต่จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ หากอาเซียนมียุทธศาสตร์ด้านการค้าในเชิงลึก มีสถานที่สำหรับจัดเก็บข้าวในขนาดที่เหมาะสมทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค มีหน่วยข่าวตลาดที่เฉียบคมพอ และการจะสร้างความเชื่อมั่นในด้านการค้านั้นถือเป็นภารกิจหลักในอาเซียน โดยยกข้อเสนอแนะที่สำคัญให้เห็น 4 ประการ ดังนี้
  • 1. ให้มีการจัดการประเทศต่างๆ ที่นำเข้าข้าวและมีการลดการพึ่งพาตนเองในด้านข้าว โดยเฉพาะประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนการประกันการนำเข้าข้าวจากประเทศผู้ส่งออก
  • 2. ปรับเงื่อนไขสำหรับการสละสิทธิ์ในด้านข้าวภายใต้ความตกลงด้านสินค้าในการค้าของอาเซียน
  • 3. การเปลี่ยนแปลงโครงการต่างๆ ด้านข้าวในประเทศไทย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นใด
  • 4. ส่งเสริมให้มีการขยายความร่วมมือด้านนโยบายข้าวกับอินเดียและปากีสถาน
การกระทำเหล่านี้ล้วนรวมมาตรการขยายการผลิตข้าวและกระบวนการต่างๆ โดยเฉพาะในกัมพูชาและพม่าเข้าไว้ด้วย เขายังชี้ให้เห็นว่าไทยเองก็จะกลับมารั้งตำแหน่งผู้ผลิตข้าวได้มากที่สุดของโลก และชาติอาเซียนทั้งหลายก็สามารถที่จะช่วยกันเลี่ยงภาวะที่จะเกิดภาวะของการช็อกที่เกิดขึ้นกับราคาข้าวได้ ด้วยการลดมาตรการเข้มงวดด้านการส่งออก และหันมาพึ่งพาตนเองมากขึ้น
ที่มา: Asean and Global Rice Situation and OutlookEnhancing ASEAN’s Resiliency to Extreme Rice Price Volatility

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น