วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเปิดประชาคมอาเซียน การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต้องข้ามพรมแดน ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียง 5 ประเทศที่มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

การเปิดประชาคมอาเซียน การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต้องข้ามพรมแดน ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียง 5 ประเทศที่มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน:



ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุการเปิดประชาคมอาเซียน การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต้องข้ามพรมแดน ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียง 5 ประเทศที่มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ในการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ ไม่ใช่เพียงการร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้น จะต้องคำนึงถึง 3 เสาหลักคือ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเรื่องของสิทธิมนุษยชนอยู่ในเรื่องกลุ่มของสังคมและวัฒนธรรม โดยมองว่าเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต้องข้ามพรมแดน และกว้างขึ้น ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมี 5 ประเทศที่มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนนั่นคือ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องวางแนวทางหารือร่วมแก้ปัญหา ทั้งนี้เรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องของชาติใดชาติหนึ่ง ต้องดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียม ขณะที่ปัญหาของไทยคือมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากและยังมีปัญหาค้ามนุษย์อยู่ รวมทั้งปัญหาแรงงานเด็ก ซึ่งประเทศที่แข็งแรงกว่าต้องช่วยดูแลประเทศที่อ่อนแอกว่า ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ในระยะที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนผ่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติปีละ 700-800 เรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิพลเมือง กระบวนการยุติธรรม การถูกทำร้ายร่างกาย โดยทุกคำร้องจะได้รับการดูแล เรื่องที่ยากที่สุดจะแก้ไขภายในสองปี ขณะเดียวกันจะเร่งตรวจสอบไม่ให้มีเรื่องค้าง โดยมีหลักการ หากตรวจสอบแล้วมีการแก้ไขก็จะยุติการตรวจสอบ หรือผู้ร้องพอใจ ไกล่เกลี่ยได้ ก็จะยุติการตรวจสอบ



ผู้สื่อข่าว : เชียงใหม่ (สวท.) / ธนวันต์ ชุมแสง เชียงใหม่ (สวท.) / ธนวันต์ ชุมแสง


หน่วยงาน : สำนักข่าว


ที่มาของข่าว : ธนวันต์-ภาชิณี สวท.เชียงใหม่ ///////////// 22 พ.ย. 55

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น