วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 5 ย้ำความร่วมมือกับประเทศสมาชิกทุกด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 5 ย้ำความร่วมมือกับประเทศสมาชิกทุกด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน:


ภาพประกอบ
นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 5 ย้ำความร่วมมือกับประเทศสมาชิกทุกด้าน เพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 5 (The Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS)โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวสุทรพจน์ ในพิธีเปิดการประชุมว่า ความร่วมมือและประเทศในกลุ่ม ACMECS กำลังได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เนื่องจากการเล็งเห็นถึงศักกายภาพของอนุภูมิภาคนี้ ที่จะเป็นศูนย์กลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก ซึ่งในโอกาสการครบรอบ 10 ปีของความร่วมมือ จะเป็นโอกาสที่จะร่วมมือกันอย่างมั่นคง เพื่อความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ เป้าหมายของ ACMECS คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและลดช่องว่างการพัฒนา โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนที่เป็นการย้ำถึงการมีอนาคตร่วมกัน และนำจุดแข็งของแต่ละประเทศเสริมความได้เปรียบร่วมกัน ซึ่งไทยพร้อมที่จะร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน โดยสนับสนุนงบประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบวงจร2.2 ล้านล้านบาท ที่มุ่งปรับปรุงระบบการขนส่งทางถนน น้ำ และด่านการค้าชายแดนที่จะเชื่อมโยงกับภูมิภาค เช่น การเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย คาดว่าจะทำให้เกิดการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น 45,000 ล้านบาท หรือ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ จะต้องร่วมกันพัฒนาเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจชายแดน โดยไทยและกัมพูชา ได้เริ่มหารือการพัฒนาพื้นที่ชายแดนร่วมกันแล้ว และหวังว่า จะหารือกับเมียนมาร์และ สปป.ลาว /การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ไทยจะให้ทุนการฝึกอบรม 200 ทุน ในสาขาต่างๆ รวมทั้งสาธารณสุขและการเกษตรระยะเวลา 2 ปี การท่องเที่ยว อาทิ โครงการ ACMECS Single Visa
อย่างไรก็ตามหลังการประชุม นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่องการทำเกษตรแบบมีสัญญาระหว่างไทยกับ สปป ลาว มีเนื้อหาการจัดตั้งคณะทำงานระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ของไทยที่จะขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติ การเสริมสร้างการลงทุน พร้อมทั้งการแก้ปัญหาข้อติดขัด และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน


ผู้สื่อข่าว : อภิสิทธิ์ จันทร์เต็ม / สวท.


หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


ที่มาของข่าว : นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น