จังหวัดสุรินทร์ ขอเชิญเที่ยวงานถนนคนเดิน OTOP ประทายสะเร็น ครั้งที่ 56 ตอน OTOP สุรินทร์ ก้าวไกลสู่อาเซียน มีสินค้าคุณภาพดี ราคาประหยัด ให้เลือกซื้อมากมาย นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์กำหนด จัดงาน otop mobile to the factory and festival และงานถนนคนเดิน OTOP ประทายสะเร็น ครั้งที่ 56 ตอน OTOP สุรินทร์ ก้าวไกลสู่อาเซียน ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในด้านการผลิต การตลาดและการบริหารจัดการกลุ่ม ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และเพิ่มช่องทางการตลาดให้สามารถจำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ที่จะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP นอกจากนั้น ยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตและการตลาด เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และการตลาดต่อไป โดยจะมีพิธีเปิดงาน 26 มีนาคม 2556 เวลา 18.00 น. ในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การจัดแสดงนิทรรศการ การจำหน่ายสินค้า OTOP ของสมาชิกทั้ง 17 อำเภอ และการแสดงบนเวที เป็นต้น จังหวัดสุรินทร์ จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมชม และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP สินค้าดี ราคาประหยัด เพื่อเป็นการร่วมสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งโดยพร้อมเพรียงกัน สมทรง เผือกผล ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว |
ผู้สื่อข่าว : สมทรง เผือกผล หน่วยงาน : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ที่มาของข่าว : นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ |
สำนักข่าวแมวเซา: เกาะกระแสอาเซียน
เกาะติดกระแสอาเซียน รายงานข่าวสถานการณ์อาเซียน อัพเดทเป็นประจำ #อาเซียน #ASEAN
วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
จังหวัดสุรินทร์ ขอเชิญเที่ยวงานถนนคนเดิน OTOP ประทายสะเร็น ครั้งที่ 56 ตอน OTOP สุรินทร์ ก้าวไกลสู่อาเซียน มีสินค้าคุณภาพดี ราคาประหยัด ให้เลือกซื้อมากมาย
จังหวัดสุรินทร์ ขอเชิญเที่ยวงานถนนคนเดิน OTOP ประทายสะเร็น ครั้งที่ 56 ตอน OTOP สุรินทร์ ก้าวไกลสู่อาเซียน มีสินค้าคุณภาพดี ราคาประหยัด ให้เลือกซื้อมากมาย:
การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS) ครั้งที่ 5 ย้ำความร่วมมือเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS) ครั้งที่ 5 ย้ำความร่วมมือเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน:
เมื่อวันที่ 12 – 13 มีนาคมที่ผ่านมาได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิร วดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ครั้งที่ 5 และการประชุมผู้นำประเทศของกลุ่มยุทธศาสตร์ฯ ในวันถัดมาณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยมีการนำจุดแข็งของแต่ละประเทศมาเสริมความได้เปรียบระหว่างกันซึ่งประเทศไทยพร้อมจะร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือและผลักดันในประเด็นดังนี้
การพัฒนาความเชื่อมโยงทั้งโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ การเชื่อมเส้นทางในเมียนมาร์จากเมืองกอกะเร็กถึงเมืองเมาะละแหม่ง การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ ๕ (บึงกาฬ-บอริคำไชย) และการยกระดับด่านชั่วคราวเป็นด่านถาวร
ทางด้านการท่องเที่ยว ไทยได้เชิญชวนให้เมียนมาร์ลาวและเวียดนามเข้าร่วมโครงการ ACMECS Single Visa ซึ่งไทยและกัมพูชาได้ดำเนินการแล้ว
ความร่วมมือด้านสาธารณสุข โดยการพัฒนาด้านสาธารณสุขตามแนวชายแดน การจัดตั้งสถานีอนามัยตลอดจนการฝึกฝนและอบรมบุคลากรทางการแพทย์
ทางด้านการเกษตร ไทยจะส่งเสริมการลงทุนในโครงการเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) การจัดตั้งกลไกการหารือร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในการขยายลงทุน นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงความร่วมมือเรื่องข้าว เนื่องจากสมาชิก ACMECS เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก โดยประเทศสมาชิกเห็นชอบที่จะมีความร่วมมือ เช่น การจัดทำมาตรฐานร่วม การแบ่งตลาดข้าว ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค
และในประการสุดท้ายคือ ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาพลังทดแทน
ในขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ชี้ให้เล็งเห็นศักยภาพของอนุภูมิภาคนี้ พร้อมทั้งชูประเด็นโครงสร้างคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ร่วมทั้งความร่วมมือการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเน้นในฐานการผลิตเดียวที่สอดคล้องกับกรอบความร่วมมืออาเซียน และยังได้มีการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีของลาวและรองประธานาธิบดีเมียนมาร์อีกด้วย
แหล่งที่มา mfa.go.thและthainews.prd.go.th
เมื่อวันที่ 12 – 13 มีนาคมที่ผ่านมาได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิร วดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ครั้งที่ 5 และการประชุมผู้นำประเทศของกลุ่มยุทธศาสตร์ฯ ในวันถัดมาณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยมีการนำจุดแข็งของแต่ละประเทศมาเสริมความได้เปรียบระหว่างกันซึ่งประเทศไทยพร้อมจะร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือและผลักดันในประเด็นดังนี้
การพัฒนาความเชื่อมโยงทั้งโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบ การเชื่อมเส้นทางในเมียนมาร์จากเมืองกอกะเร็กถึงเมืองเมาะละแหม่ง การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ ๕ (บึงกาฬ-บอริคำไชย) และการยกระดับด่านชั่วคราวเป็นด่านถาวร
ทางด้านการท่องเที่ยว ไทยได้เชิญชวนให้เมียนมาร์ลาวและเวียดนามเข้าร่วมโครงการ ACMECS Single Visa ซึ่งไทยและกัมพูชาได้ดำเนินการแล้ว
ความร่วมมือด้านสาธารณสุข โดยการพัฒนาด้านสาธารณสุขตามแนวชายแดน การจัดตั้งสถานีอนามัยตลอดจนการฝึกฝนและอบรมบุคลากรทางการแพทย์
ทางด้านการเกษตร ไทยจะส่งเสริมการลงทุนในโครงการเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) การจัดตั้งกลไกการหารือร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในการขยายลงทุน นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงความร่วมมือเรื่องข้าว เนื่องจากสมาชิก ACMECS เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก โดยประเทศสมาชิกเห็นชอบที่จะมีความร่วมมือ เช่น การจัดทำมาตรฐานร่วม การแบ่งตลาดข้าว ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค
และในประการสุดท้ายคือ ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาพลังทดแทน
ในขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ชี้ให้เล็งเห็นศักยภาพของอนุภูมิภาคนี้ พร้อมทั้งชูประเด็นโครงสร้างคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ร่วมทั้งความร่วมมือการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเน้นในฐานการผลิตเดียวที่สอดคล้องกับกรอบความร่วมมืออาเซียน และยังได้มีการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีของลาวและรองประธานาธิบดีเมียนมาร์อีกด้วย
แหล่งที่มา mfa.go.thและthainews.prd.go.th
รายงาน: เปิดประตูอาเซียน เรื่อง มุมมองของนักวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนของสมาชิกอาเซียน
รายงาน: เปิดประตูอาเซียน เรื่อง มุมมองของนักวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนของสมาชิกอาเซียน:
การพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งไทย นับเป็นภารกิจที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาคมอาเซียนในอนาคต เพราะการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จำเป็นต้องอาศัยคนของประชาคมอาเซียนที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ มีความรู้แ ละสติปัญญาที่ดี มีทักษะในการดำเนินชีวิต ทักษะในการประกอบอาชีพการงาน มีสุขภาพจิตที่ดี นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ศักยภาพภายในตัวเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมเป็นอันดับแรก คือพลังในตัวตนที่เข้มแข็ง หรือ I am ถือเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรักการเรียนรู้ ทำสิ่งต่างๆ อย่างมีเป้าหมายและมีแรงบันดาลใจเพื่อพัฒนาตนเองและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคม แต่หากเด็กและเยาวชนมีพลังในตัวเองที่อ่อนแอจะไม่สามารถจัดการชีวิตตนเองได้และส่งผลต่อปัญหาสังคมในด้านอื่นๆ เช่น เบื่อการศึกษา เกิดปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาการติดเชื้อเอดส์ หรือยาเสพติด ซึ่งล้วนแต่เกิดจากการไม่มีพลังที่เข้มแข็งจากภายใน จึงดำเนินชีวิตที่ขาดเป้าหมายให้ความสำคัญแต่ I have หรือ วัตถุนิยม ซึ่งไม่ใช่ I have และ I can ที่ออกมาจากภายใน และเป็นศักยภาพที่แท้จริง ทุกประเทศในประชาคมอาเซียน เชื่อว่าการพัฒนามนุษย์ คือภารกิจร่วมกันของทุกประเทศที่จะต้องทำให้บรรลุผล เพื่อลดช่องว่าของคุณภาพคนในประชาคมอาเซียนให้เหลือน้อยที่สุด และมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนของทุกประเทศในประชาคมอาเซียน เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าของประชาคมอาเซียนต่อไป |
ผู้สื่อข่าว : สุทธิวรรณ ภัทรปัญจศรี / สวท. สุทธิวรรณ ภัทรปัญจศรี / สวท. หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ที่มาของข่าว : |
เตรียมพบ“มหกรรมสินค้าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี” รับอาเซียน
เตรียมพบ“มหกรรมสินค้าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี” รับอาเซียน:
ภาพประกอบ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี จัดงานมหกรรมสินค้าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ภาคกลาง ขนสินค้าคุณภาพจัดแสดงและจำหน่ายกว่า 120 บูธ พร้อมจัดเวทีเจรจาธุรกิจเชื่อมโยงเอกชนกับผู้ผลิตสินค้าชุมชน รองรับประชาคมอาเซียนนายมนูญ อยู่ดี สหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวถึง จัดงาน มหกรรมสินค้าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 20 - 24 มีนาคม 2556 ณ สนามวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ว่า เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงสินค้าเกษตรและสหกรณ์ สินค้าโอทอปขึ้นชื่อจาก 4 จังหวัด นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี กว่า 120 ร้าน ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อันจะช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่าย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านสินค้าเกษตรและสหกรณ์มีความเข้มแข็งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตลาดโลก รองรับประชาคมอาเซียน โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรและร่วมกันพัฒนาการประกอบอาชีพ ทั้งด้านเทคนิคกรรมวิธีการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด ซึ่งมุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ และการบริการที่มีคุณภาพก่อรายได้กลับสู่ชุมชน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนช่องทางการตลาดให้แก่สินค้าสหกรณ์ และกลุ่มสหกรณ์ รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้จัดโครงการมหกรรมสินค้าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อยกระดับรายได้และสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรได้เรียนรู้การจัดการด้านตลาดเพิ่มขึ้น เฉลียว/ข่าว สวิตต์/พิมพ์ ข่าวสุพรรณบุรี |
ผู้สื่อข่าว : เฉลียว อินยิ้ม หน่วยงาน : สวท.สุพรรณบุรี ที่มาของข่าว : |
สนง.พาณิชย์จ.สุรินทร์ จัดสัมมนา “การค้า การลงทุนกับกัมพูชา เมื่อเข้าสู่ AEC”
สนง.พาณิชย์จ.สุรินทร์ จัดสัมมนา “การค้า การลงทุนกับกัมพูชา เมื่อเข้าสู่ AEC”:
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ จัดสัมมนา “การค้า การลงทุนกับกัมพูชา เมื่อเข้าสู่ AEC” หวังให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 วันนี้(20 มี.ค) นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา “การปรับตัวทางการค้า การลงทุนกับกัมพูชา เมื่อเข้าสู่ AEC” ซึ่งสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ จัดขึ้น ณ โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชนและประชาชนให้ความสนใจร่วมรับฟังจำนวนมาก นายสิทธิพร บางแก้ว พาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและเงินทุนได้อย่างเสรี โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว จึงมีผลที่จะเป็นโอกาสและภัยคุกคามที่ท้าทายต่อการปรับตัวของประชาชนคนไทยทุกภาคส่วน กระทรวงพาณิชย์ จึงได้บูรณาการกับอีก 3 จังหวัดที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับกัมพูชา ได้แก่จังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี โดยการจัดสัมมนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการประชุมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับจังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดพระวิหาร จังหวัดเสียมเรียบ และกัมปงธม ของกัมพูชา โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากกรมการค้าระหว่างประเทศ ด่านศุลกากรช่องจอม ผู้ประกอบการไทยในกัมพูชา และอัครราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงพนมเปญ กัมพูชา มาร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้าร่วมงานสัมมนา ได้เข้าใจเรื่องอาเซียน โดยเฉพาะในเรื่องของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กิติวรรณ มณีล้ำ / ข่าว |
ผู้สื่อข่าว : ว่าที่ร้อยตรีกิติวรรณ มณีล้ำ หน่วยงาน : สวท.สุรินทร์ ที่มาของข่าว : นายสิทธิพร บางแก้ว |
วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดสัมมนาให้ความรู้ผู้นำสตรีในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดสัมมนาให้ความรู้ผู้นำสตรีในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558:
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดสัมมนาให้ความรู้ผู้นำสตรีในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีกำหนดจัดสัมมนา "โครงการมีส่วนร่วมของสตรี ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน" ในระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคมนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มสตรีไทยที่จะต้องได้รับผลกระทบ เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 หากเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วการไปมาหาสู่ของประชาชนจะทำได้ง่ายขึ้น ปัญหาที่เกี่ยวข้องจะตามมา เช่น การค้ามนุษย์ การใช้ความรุนแรงกับสตรี รวมถึงการแข่งขันในกลุ่มสตรี ดังนั้นในการสัมนาจึงได้เชิญสตรีที่เป็นผู้นำชุมชนเข้ามารับความรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดในชุมชนของตนเอง โดยการสัมมนาครั้งนี้จะให้ความรู้ตามแนวพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เกี่ยวกับบทบาทสตรีไทย ขณะที่เนื้อหาสำคัญจะแบ่งเป็นการรับทราบนโยบายการพัฒนาสตรีของรัฐบาลในภาพรวม โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ /กระทรวงการต่างประเทศ/อดีตเลขาธิการอาเซียน ผู้นำองค์กรสตรี รวมถึงผู้มีความรู้ในการพัฒนาสตรีด้านต่างๆ มาให้ความรู้ เพื่อให้ตัวแทนสตรีได้ทราบถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ ในระหว่างการสัมมนาจะมีการประชุมกลุ่มย่อยใน 7 หัวข้อที่มีความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาทิ หัวข้อการเตรียมคนให้พร้อม การร่วมมือกับประเทศสมาชิก การมีส่วนร่วมในการดูแลปัญหาการค้ามนุษย์ และความรู้ด้านกฎหมายต่าง ๆ |
ผู้สื่อข่าว : อภิสิทธิ์ จันทร์เต็ม / สวท. หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ที่มาของข่าว : นายสมชาย เจริญอำนวยสุข |
รายงาน เปิดประตูสู่อาเซียน
รายงาน เปิดประตูสู่อาเซียน:
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เป็นเป้าหมายสำคัญของทั้ง 10 ประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทยต่างก็มีการเตรียมความพร้อมกันเต็มที่ ขณะที่ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยบรรดาผู้นำต่างใช้โอกาสทุกเวทีเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์สร้างความผาสุกให้กับประชาชน โดยเวทีการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ครั้งที่ 5 นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 12-13 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเวทีนี้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกคือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งล้วนเป็นสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีของไทยและผู้นำทุกประทศต่างย้ำถึงความร่วมมือ ที่เน้นสร้างงาน ลดความยากจน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาพื้นที่แนวชายแดน และขยายการคมนาคม เชื่อมโยงเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคแล้ว สิ่งสำคัญคือการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะร่วมกันเป็นประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยพร้อมที่จะสนับสนุนในทุกด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพของประชาชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสมาชิก |
ผู้สื่อข่าว : อภิสิทธิ์ จันทร์เต็ม / สวท. หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ที่มาของข่าว : |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)