ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการดื่มกาแฟต่อคนประมาณ 200 แก้วต่อปี จากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาเพียง 50 แก้วต่อปี เมื่อความต้องการบริโภคกาแฟของคนไทยเริ่มมีสูงมากขึ้น ย่อมส่งผลให้ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งคาดว่าในปี 2558 การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ACE จะมีการเปิดเสรีการนำเข้ากาแฟอย่างหลากหลาย จะทำให้ผู้บริโภคในประเทศมีทางเลือกในการเลือกซื้อกาแฟสำเร็จรูปบริโภคมากขึ้น และดื่มกาแฟกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศ หรือกาแฟสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อถึงปี 2558 สถานการณ์จะเปลี่ยนไป ไทยต้องเปิดเสรีนำเข้าเมล็ดกาแฟจากอาเซียน โดยไม่มีภาษีนำเข้า เช่นเดียวกับกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งนายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมกาแฟในอนาคต ไทยมีโอกาสที่จะผลักดันเศรษฐกิจประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากภูมิประเทศของไปเป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุน ซึ่งจะได้เปรียบประเทศคู่แข่งขันทางการขนส่ง การคมนาคมที่เข้าถึง พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมกาแฟไทยสู่ ACE ด้วยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟให้ได้สายพันธุ์ใหม่ สูตรใหม่ คุณภาพสูง และมีรสชาติที่ถูกปากคอกาแฟ และจะเป็นจุดขายให้กาแฟไทยเป็นที่ 1 แตกต่างจากคู่แข่งในอาเซียนได้เป็นอย่างดี ซึ่ง “เพชรบูรณ์” เป็นจังหวัดหนึ่งของไทยที่มีอุณหภูมิหนาวเย็นท่ามกลางหุบเขา พร้อมแร่ธาตุในดินดีเยี่ยมเสมือนกับเป็นดินแดนทองแห่ง “ต้นกาแฟ” พร้อมเป็นแหล่งกำเนิดแบรนด์กาแฟสัญชาติไทย อย่าง เดอมอน เต้ มากมายที่ฝันถึง จะเป็นสตาร์บัคส์แห่งอาเซียน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสากรรม จึงเตรียมผลักดันสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกกาแฟเพิ่มมากขึ้น แต่ต้องรู้วิธีปลูกที่จะได้กาแฟคุณภาพดีด้วย ขณะเดียวกัน กสอ. จะคอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้ค้นพบแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างแข็งแกร่ง โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือขอคำแนะนำ คำปรึกษา ในด้านการพัฒนาธุรกิจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัด |
ผู้สื่อข่าว : วิลาวัลย์ ปะมา / สวท. หน่วยงาน : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ที่มาของข่าว : นายโสภณ ผลประสิทธิ์ |
เกาะติดกระแสอาเซียน รายงานข่าวสถานการณ์อาเซียน อัพเดทเป็นประจำ #อาเซียน #ASEAN
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
รายงานพิเศษเรื่อง เปิดประตูอาเซียน
รายงานพิเศษเรื่อง เปิดประตูอาเซียน:
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น